ปฏิทินปี2555

วันพุธที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

น้ำท่วมมหาสารคาม




ที่มา   http://www.youtube.com/watch?v=2X_FTKcSiB4&feature=related

มลพิษทางน้ำ

 ความหมายของน้ำเสีย
น้ำเสียตาม พ.ร.บ ส่งเสริมและรักษาสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ หมายถึง ของเสียที่อยู่ในสภาพที่เป็นของเหลว รวมทั้งมวลสารที่ปะปนหรือปนเปื้อนอยุ่ในของเหลวนั้น
    
 ลักษณะของน้ำเสีย
ลักษณะของน้ำเสียแบ่งออกได้ 3 ด้าน คือ ด้านายภาพ ด้านเคมี และด้านชีวภาพ
 1.ลักษณะของน้ำเสียทางกายภาพ เช่น
 -ปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ทั้งหมด หมายถึง ปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำและสามารถไหลผ่านกระดาษกรองใยแก้ว แล้วนำน้ำไปที่กรองได้ ไประเหยจนแห้ง แล้วจึงนำไปอบ
 -ของแข็งแขวนลอย หมายถึงปริมาณของแข็งแขวนลอยที่เหลือค้างบนกระดาษกรองใยแก้ว
 -ความขุ่น หมายถึง สมบัติทางแสงของสารแขวนลอยซึ่งทำให้แสงกระจาย และดูดกลืนมากกว่าที่จะอมให้แสงผ่านเป็นเส้นตรง ความขุ่นของน้ำเกิดการมีสารแขวนลอยต่างๆ เช่น ดิน ดินตะกอน
 2.ลักษณะของน้ำเสียทางเคมี เช่น
 -ออกซิเจนละลาย การหาดีโอ(DO)หรืออกซิเจนละลาย สามารถทำได้ทั้งวิธีทางเคมี และใช้เครื่องวัดโดยตรง
 -บีโอดี(BOD)หมายถึง ปริมาณออกซิเจนที่ใช้ในการย่อยสลายสารอินทรีย์โดยแบคทีเรีย
 -ซีโอดี(COD)หมายถึง ปริมาณออกซิเจนทั้งหมดที่ต้องการใช้เพื่อออกซิเดชันสารอินทรีย์ในน้ำ ด้วยสารเคมีซึ่งมีอำนาจในการออกซิไดส์สูงในสารละลายที่เป็นกรด ให้เป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในน้ำ ค่าซีโอดีมีความสำคัญในการวิเคราะห์คุณภาพน้ำทิ้ง การควบคุมระบบบำบัดน้ำทิ้ง การควบคุมระบบบำบัดน้ำเสีย ค่า COD นี้มีหน่วยเป็น มิลลิกรัม/ลิตร
 -ค่าความกรด-ด่าง(pH)มีความสำคัญในการควบคุมคุณภาพน้ำและน้ำเสียควบคุมให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิต เพื่อไม่ให้เกิดการกัดกร่อนของท่อ เพื่อใช้ในการควบคุมสารเคมีที่ใช้บำบัดน้ำเสียให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยทั่งไปน้ำมีค่า pH อยุ่ในช่วง 5-8 ค่า pH เป็นค่าที่แสดงปริมาณความเข้มข้นของอนุภาคไฮโดรเจนในน้ำ
   -ไนโตรเจน เป็นธาตุที่มีความสำคัญในการสังเคราะห์โปรตีน ทำให้พืชน้ำมีการเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว
   -สารโลหะหนักชนิดต่างๆขึ้นอยุ่กับชนิดของอุตสาหกรรม สารโลหะหนักยอมให้มีได้ในน้ำในปริมาณที่น้อยมากเนื่องจากบางตัวให้ความเป็นพิษสูง แต่บางชนิดหากทีปริมาณไม่มากนักจะมีผลดีต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ
  3.ลักษณะของเสียทางชีวภาพ เช่น
   -แบคทีเรีย คือ จุลินทรีย์เซลล์เดียว มีขนาดเล็ก ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เป็นผู้ย่อยสลายในแหล่งน้ำ
   -รา เป็นจุลินทรีย์ที่มีหลายเซลล์ ไม่มีคลอโรฟีลล์ รามีความสำคัญในการย่อยสลายพวกคาร์บอนที่มีค่า pH ต่ำ รามีบทบาทสำคัญในการย่อยสลายสารอินทรีย์ในระบบบำบัดน้ำเสียบางระบบ
  
 แหล่งกำเนิดน้ำเสีย แบ่งได้หลักๆดังนี้
  1.น้ำเสียจากชุมชน หมายถึง น้ำที่เกิดจากการใช้ประโยชน์ในกิจกรรมต่างๆ และระบายน้ทิ้งลงสู่ท่อระบายน้ำ แหล่งรองรับน้ำเสีย หรือแหล่งน้ำธรรมชาติ โดยไม่ได้ผ่านการบำบัด
        การตรวจสอบความเน่าเสียของน้ำ
วัดปริมาณออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำ นิยมหาได้ 2 แบบคือ
  1.หาปริมาณออกซิเจนที่ใช้ทำปฏิกริยากับสารอินทรีย์ในน้ำเสีย ทั้งจุลินทรีย์ย่อยสลายได้และไม่ได้ วิธีนี้เป็นวิธีทางเคมี
  2.หาปริมาณออกซิเจนที่จุลินทรีย์ใช้ย่อยสลายสารอินทรีย์ต่างๆในน้ำเสีย วิธีนี้ถือว่าเป็นวิธีทางชีววิทยา
  3.หาปริมาณจุลินทีรย์ในน้ำ

  4.วัดความเข้มข้นของสารต่างๆที่ละลายอยู่ในน้ำ






ที่มา   http://www.dekgeng.com/thai/conp/7567.htm

มลภาวะทางอากาศ

สภาพหมอกที่ปกคลุมชั้นบรรยากาศที่เกิดจากมลภาวะทางอากาศ

สภาพหมอกที่ปกคลุมชั้นบรรยากาศที่เกิดจากมลภาวะทางอากาศ

ภาวะมลพิษทางอากาศ (Air Pollution) มีสาเหตุต่าง ๆ ดังนี้
1. การเผาไหม้เชื้อเพลิงในโรงงานอุตสาหกรรม หรือในเครื่องยนต์ การเผาถ่านหินหรือเชื้อเพลิงที่มีกำมะถันและสารประกอบของกำมะถันเป็นองค์ประกอบ จะมีแก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) เกิดขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุของฝนกรด มีผลต่อการดำรงชีวิตของสัตว์น้ำ ทำให้สีใบไม้ซีดจาง และสังเคราะห์แสงไม่ได้ ถ้าร่างกายได้รับ SO2 จะเกิดอาการปวดเมื่อยเรื้อรัง โลหิตจาง เป็นอันตรายต่อระบบหายใจและปอด


 ควันจากโรงงานอุตสาหกรรมทำให้เกิดมลพิษทางอากาศ

2. การเผาไหม้เชื้อเพลิงปิโตรเลียมอย่างไม่สมบูรณ์ จะได้เขม่าและออกไซด์ของคาร์บอน ได้แก่ CO และ CO2  นอกจากนี้ยังได้แก๊สอื่น ๆ อีกหลายชนิด เช่น SO2 , NO2 และ H2S รวมทั้งเถ้าถ่านที่มีปริมาณโลหะน้อยมากเป็นองค์ประกอบ
 CO2 เป็นสาเหตุทำให้เกิดภาวะเรือนกระจก ส่งผลกระทบต่ออุณหภูมิของโลก

ควันจากโรงงานอุตสาหกรรมมีแก๊สหลายชนิดเกิดขึ้น

ในบริเวณที่มีการจราจรคับคั่ง จะมี CO เกิดขึ้นมาก CO เป็นแก๊สพิษ ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น  รวมกับฮีโมโกลบินเกิดเป็นคาร์บอกซีฮีโมโกลบินได้ดี ทำให้เม็ดเลือดแดงไม่สามารถรับออกซิเจนได้ตามปกติ จะเกิดอาการเวียนศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน ถ้าร่างกายรับเข้าไปมากทันที อาจทำให้เสียชีวิตได้


3. การเผาไหม้เชื้อเพลิงของเครื่องยนต์ต่าง ๆ มีไฮโดรคาร์บอนที่เผาไหม้ไม่หมดออกมาด้วย ไฮโดรคาร์บอนที่มีพันธะคู่จะรวมตัวกับแก๊สออกซิเจนหรือแก๊สโอโซน เกิดเป็นสารประกอบแอลดีไฮด์ซึ่งมีกล่นเหม็น ทำให้เกิดอาการระคายเคืองเมื่อสูดดม

ไฮโดรคาร์บอนสามารถเกิดปฏิกิริยากับ O2 และ NO2 เกิดสารประกอบเปอร์ออกซี แอซีทิลไนเตรต (PAN) ซึ่งเป็นพิษ ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อดวงตาและระบบทางเดินหายใจ มีผลต่อพืชโดยทำลายเนื้อเยื่อที่ใบ

การเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ชองเครื่องยนต์

สภาพการจราจรที่แออัดทำให้เกิดภาวะมลพิษทางอากาศ


ปัญหาสิ่งแวดล้อมรอบตัว




    ที่มา   http://www.youtube.com/watch?v=YUNMn23qPLg&feature=related

อย่าประมาท 10 สัณญาน เตือนวันสิ้นโลก!




ที่มา    http://www.youtube.com/watch?v=3GGz2WuCsqU&feature=related

เผยผลตรวจ เหยื่อสารเคมีรั่ว แหลมฉบัง

พบเพียง 2 ตัวอย่างที่มีระดับซัลฟ์ฮีโมโกลบินสูง พร้อมส่งรถโมบายแล็บลงพื้นที่ คอยตรวจสอบการปนเปื้อนในอาหาร สร้างความมั่นใจ ปปช.-นักท่องเที่ยว
วันนี้ (4 ธ.ค.) นพ.จักรธรรม ธรรมศักดิ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้รับตัวอย่างเลือดของผู้ป่วยที่ได้รับผลกระทบ จากเหตุการณ์สารเคมีรั่วไหลในท่าเทียบเรือบี 3 ภายในท่าเรือแหลมฉบัง อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ทั้งหมด 37 ตัวอย่าง จำแนกเป็นตัวอย่างจากโรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา เมื่อวันที่ 26 พ.ย.2552 จำนวน 21 ตัวอย่าง เป็นของผู้ป่วย 20 ราย และผู้เสียชีวิต 1 ราย และตัวอย่างส่งผ่านศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ชลบุรี เมื่อวันที่ 28 พ.ย.2552 จำนวน 16 ตัวอย่าง ตรวจวิเคราะห์หาระดับของซัลฟ์ฮีโมโกลบิน เพื่อยืนยันการวินิจฉัยการได้รับสัมผัสจากแก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และบอกถึงความรุนแรงของโรคซัลฟ์ฮีโมโกลบินิเมีย โดยนำตัวอย่างดังกล่าวมาตรวจวิเคราะห์ด้วยวิธีวิสิเบิลสเปคโตรโฟโตเมตรี วัดความยาวคลื่นแสงที่ 620 นาโนมิเตอร์ ผลจากการตรวจวิเคราะห์พบเพียง 2 ตัวอย่าง ที่มีระดับของซัลฟ์ฮีโมโกลบินสูง คือ พบ 0.49% และ 1.84% ของฮีโมโกลบินทั้งหมด ซึ่งเป็นตัวอย่างจากโรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ศรีราชา จำนวน 1 ตัวอย่าง และส่งผ่านศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ชลบุรี จำนวน 1 ตัวอย่าง ทั้งนี้ ระดับของซัลฟ์ฮีโมโกลบินในคนปกติไม่ควรเกิน 0.4% ของฮีโมโกลบินทั้งหมด
ด้าน นางเพ็ญศรี รอดมา ผู้ทรงคุณวุฒิด้านความปลอดภัยของอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้นำรถปฏิบัติการเคลื่อนที่ หรือรถโมบายแล็บลงไปในพื้นที่ เพื่อคอยตรวจสอบสารพิษในอาหาร รวมทั้งเฝ้าระวังความปลอดภัยของอาหารทะเลทั้งสด และแห้ง ที่จำหน่ายตามร้านอาหารบริเวณท่าเรือแหลมฉบัง และที่ตลาดสด อ.ศรีราชา เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ประชาชน และนักท่องเที่ยวในพื้นที่ดังกล่าวแล้ว เมื่อวันที่ 1-2 ธ.ค.2552 และได้เก็บตัวอย่างอาหารชนิดปู ปลาหมึก กุ้ง หอยและกั้ง ทั้งหมด 46 ตัวอย่าง ผลการตรวจไม่พบการปนเปื้อนของสารซัลไฟต์ในทุกตัวอย่าง.


ที่มา   http://news.sanook.com/851571/%E0%B9%80%E0%B8%9C%E0%B8%A2%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%88-%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A2%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%A7-%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A1%E0%B8%89%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%87/


รัฐบาลล้อมคอก อุบัติเหตุโรงงานอุตสาหกรรม

นายกรัฐมนตรี สั่งกระทรวงอุตสาหกรรม ประเมินความเสี่ยง และทบทวนการปฎิบัติงานในทุกโรงงาน ภายหลังเกิดเหตุสารเคมีรั่วไหลจากโรงงานอุตสาหกรรมติดกัน ขณะที่ รมว.อุตสาหกรรม สั่งกำชับผู้บริหารโรงงานที่เกิดสารเคมีรั่ว ว่าเหตุการณ์เช่นนี้จะต้องไม่เกิดขึ้นอีก
มรว.พงษ์สวัสดิ์ สวัสดิวัตน์ รมว.อุตสาหกรรม พร้อมด้วยนายเสนีย์ จิตตเกษม ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง ลงพื้นที่ตรวจสอบจุดที่มีสารเคมีรั่วไหล ในบริษัท อดิตยา เบอร์ล่า เคมีคัลส์ (ประเทศไทย) จำกัด ในนิคมอุตสาหกรรมเหมราชตะวันออก จังหวัดระยอง โดยได้เข้าไปตรวจสอบบริเวณส่วนผลิตกรดไฮโดรคลอริก และไฮโปครอไรท์ ซึ่งเป็นจุดที่มีสารเคมีรั่วไหลวานนี้ (6 พ.ค.) ซึ่งการลงพื้นที่วันนี้ (7 พ.ค.) แม้ว่าทางโรงงานจะสามารถสกัดการรั่วไหลเอาไว้ได้แล้ว แต่ในบริเวณดังกล่าวยังคงมีกลิ่นฉุนของสารเคมีฟุ้งกระจายอยู่
รมว.อุตสาหกรรม ได้สั่งกำชับให้เพิ่มความเข้มงวดในการตรวจสอบ และให้ซักซ้อมแผนการแจ้งเตือนภัยให้กับประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียง พร้อมทั้งกำชับเจ้าหน้าที่ว่าเหตุการณ์เช่นนี้จะต้องไม่เกิดขึ้นอีก
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่าได้กำชับให้ช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสารเคมีรั่วอย่างเต็มที่ พร้อมกับสั่งการให้กระทรวงอุตสาหกรรม ประเมินความเสี่ยงของการปฏิบัติงานในทุกโรงงาน เพื่อทบทวนในทุกขั้นตอน เพิ่มความระมัดระวัง ทั้งตัวบุคคลากร รวมถึง การซ่อมบำรุง ในทุกไตรมาส ซึ่งจะมีผลต่อการต่อใบอนุญาตด้วย
ส่วนการรั่วไหลของสารทูโลอิน และสารคลอรีน นั้นได้รับคำชี้แจงจากผู้อำนวยการสำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ว่าสารดังกล่าวเป็นสารที่ระเหยได้ง่ายในอากาศ และไม่ได้เป็นสารที่ก่อให้เกิดมะเร็ง แต่หากสูดดมเข้าไปในปริมาณมากจะส่งผลต่อเยื้อบุต่างๆ โดยแนะนำให้ประชาชนในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดใช้ผ้าชุบน้ำปิดจมูกขณะออกนอกที่พักอาศัย และห้ามรองน้ำฝนมาอุปโภค บริโภค ในระยะนี้
สำหรับการช่วยเหลือผู้เสียชีวิตจากเหตุเพลิงไหม้ โรงงานบีเอสที มีผู้เสียชีวิต 12 คนนั้น ผู้เสียชีวิตจะได้รับเงินชดเชย 36 เท่าของเงินเดือน เงินปลอบขวัญ 1 ล้านบาท พนักงานผู้รับเหมาได้รับรายละ 500,000 บาท และทางมูลนิธิ กนอ. ช่วยปลอบขวัญ รายละ 20,000 บาท ขณะที่บริษัทได้ประเมินความเสียหายประมาณ 1,500-1,700 ล้านบาท


ที่มา   http://news.sanook.com/1116458/%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%81-%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%95%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1/

มลพิษ




ที่มา   http://www.youtube.com/watch?v=rP3gCen8-1w

ปัญหาสิ่งแวดล้อมมาบตาพุด

 ที่มาปัญหาสิ่งแวดล้อมมาบตาพุด
ความเป็นมา
      ในปีพ.ศ.2531 นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดได้รับการพัฒนาจัดตั้งขึ้นตามนโยบายของรัฐบาล ในการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก โดยรัฐบาลได้มอบให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินการ ปัจจุบันนิคมฯมาบตาพุดได้เป็นฐานการผลิตที่สำคัญของประเทศสำหรับอุตสาหกรรม ประเภท ปิโตรเคมี เคมีภัณท์ เหล็กและโลหะ โรงกลั่นน้ำมัน โดยในเชิงพื้นที่ได้มีการร่วมขยายจากนิคมฯร่วมดำเนินงานของเอกชน 4 แห่ง ทำให้พื้นที่ขยายจาก 8,000 ไร่ เป็น 20,000 ไร่ การพัฒนาโดยอยู่รวมกลุ่มอุตสาหกรรม ทำให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพ ประหยัดต้นทุนการผลิตและขนส่ง ส่งผลให้ผู้ประกอบการไทยสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก
จากการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมในพื้นที่อย่างรวดเร็วและการรวมกลุ่มของกลุ่ม อุตสาหกรรมในพื้นที่ทำให้ประสบกับปัญหาการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมและ อาชีวอนามัย  อาทิเช่น ผลกระทบด้านคุณภาพอากาศ  ปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพ  การขาดแคลนทรัพยากรน้ำ  ปัญหาต่างๆเหล่านี้ส่งผลให้เกิดการเรียกร้องจากประชาชนให้มีการดำเนินการ แก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ  และการมีส่วนร่วมในการรับรู้
สภาพปัญหา
      จาก การพัฒนาอุตสาหกรรมในพื้นที่และมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ได้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของชุมชนในพื้นที่ ปัญหาที่สำคัญที่ผ่านมาสรุปได้ดังนี้
ปี พศ. 2543-2546  ปัญหาเรื่องกลิ่นรบกวน จากโรงงานปิโตรเคมี และโรงกลั่น สืบเนื่องจากพื้นที่ตั้งของโรงงานอยู่ใกล้กับชุมชน โดยขาดพื้นที่กันชน การดำเนินการแก้ไขได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องด้วยดีจน กระทั่งปัญหาทุเลาไปเป็นอันมาก
ปี พ.ศ. 2548  ปัญหาเรื่องภัยแล้ง เกิดภาวะขาดแคลนน้ำในพื้นที่ ส่งผลให้เกิดความระแวงในการแย่งใช้น้ำระหว่างชุมชนกับภาคอุตสาหกรรม ภาครัฐได้ประสานการแก้ไขปัญหาและจัดหาแหล่งน้ำเพิ่มเติม จนกระทั่งปัญหานี้ผ่านพ้นไปด้วยดี
ปี พ.ศ. 2550 ปัจจุบัน ความต้องการให้ประกาศเขตควบคุมมลพิษ จากผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ อาทิเช่น ปัญหาสุขภาพอนามัย ปัญหาการปนเปื้อนในน้ำบ่อตื้น ปัญหาเรื่องสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย ทำให้องค์กรเอกชนเคลื่อนไหว รณรงค์ให้รัฐบาลพิจารณาประกาศให้พื้นที่มาบตาพุดเป็นเขตควบคุมมลพิษ
      ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดการดำเนินการแก้ไขปัญหาในพื้นที่มาบตาพุดเป็นไปอย่างมี ประสิทธิภาพ  คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ในการประชุมครั้งที่ 1/2550 (นัดพิเศษ) เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2550  ได้มีมติแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจเพื่อแก้ไขปัญหามลพิษและกำหนดการ พัฒนาในพื้นที่จังหวัดระยองเพื่อจัดทำและกำกับแผนปฏิบัติการลดและขจัดมลพิษ ในพื้นที่จังหวัดระยอง พ.ศ. 2550 - 2554   

สาระสำคัญของแผนปฏิบัติการฯ โดยเป้าหมายการดำเนินการประกอบด้วย
1) ลดปริมาณการปล่อยทิ้งมลพิษทางอากาศ มลพิษทางน้ำ ขยะและกากของเสียอุตสาหกรรม ให้เป็นไปตามข้อกำหนดตามกฎหมายหรือดีกว่า
2) คุณภาพน้ำและอากาศ อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานภายใน 1 ปี  
3)ประชาชนได้รับการดูแล รักษา และฟื้นฟูสุขภาพอนามัยอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม
4) ชุมชนในพื้นที่มีความเข้มแข็งมีส่วนร่วมในการติดตาม ตรวจสอบ และเฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อมและการระบายมลพิษจากแหล่งกำเนิดได้อย่างต่อเนื่อง
5) การพัฒนาพื้นที่ในอนาคตไม่ให้เกิดผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพอนามัยและสอด คล้องศักยภาพพื้นที่


ที่มา   http://www.ieat.go.th/ieat/index.php?option=com_content&view=article&id=154&Itemid=157&lang=th

ผลกระทบจากโลกร้อน




ที่มา  http://www.youtube.com/watch?v=-aIOsPpo91A&feature=related

วิธีการกำจัดขยะมูลฝอย การจัดการขยะมูลฝอย




ที่มา   http://www.youtube.com/watch?v=13mbT2N1Eio&feature=rel

มลพิษทางดิน(Soil Pollution or Land Pollution)

      มลพิษทางดินหมายถึงดินที่เสื่อมค่าไปจากเดิมและหรือมีสารมลพิษเกินขีด
จำกัดจนเป็นอันตรายต่อสุขภาพ และพลานามัย ตลอดจน การเจริญเติบโตของพืช และสัตว์ ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม
       ปัญหามลพิษของดินเกิดขึ้นจากการทำลายหรืการเกิดการถดถอยของคุณภาพหรืคุณลักษณะของสภาวะใดสภาวะหนึ่ง ที่เกิดจากมลสาร (Pollutant) ที่ก่อให้เกิดมลภาวะดินเป็นอนุภาคที่มีขนาดเล็กสามารถฟุ้งกระจายไปในอากาศดินจะมลสารที่ก่อให้เกิดปัญหามลพิษทางอากาศ
ซึ่งความรุนแรงนั้นขึ้นอยู่กับจะขึ้นกับว่าอนุภาคดินนั้นมีองค์ประกอบอย่างไรสภาพทางอุตุนิยมวิทยาสภาพพื้นที่เป็นต้นในกรณีที่คล้ายคลึงกันหากอนุภาคดินถูกพัดพาไปยังแหล่งน้ำดินที่เป็นมลสารจะก่อให้เกิดปัญหามลพิษทางน้ำโดยตรงทั้งทางคุณภาพและปริมาณอีกทั้งยังก่อให้เกิดปัญหาโดยอ้อมเมื่ออนุภาคดินนั้นมีธาตุอาหารที่ส่งเสริมกาเจริญเติบโตของพืชน้ำก่อให้เกิดภาวะขาดออกซิเจนในแหล่งน้ำสัตว์น้ำในแหล่งน้ำนั้นได้รับผลกระทบเกิด
กลิ่นเหม็นของก๊าซไข่เน่า (hydrogen sulfide, H2S)

อันตรายจากมลพิษทางดิน
1. อันตรายต่อมนุษย์
มนุษย์จะได้รับพิษของสารประกอบไนเทรต ไนไทรต์ในยาปราบศัตรูพืช
จากน้ำดื่ม น้ำใช้ในแหล่งเกษตรกรรมและจากผลผลิตทางการเกษตรเช่น
ผักผลไม้จนถึงระดับที่เป็นพิษต่อร่างกายได้
2. อันตรายต่อสัตว์
สัตว์ที่หากินในดินจะได้รับพิษจากการสัมผัสสารพิษในดินโดยตรงและ
จากการบริโภคอาหารที่มีสารพิษปะปนอยู่สารพิษที่ได้รับส่วนใหญ่จะเป็น
ยาฆ่าแมลงที่นอกจากจะทำลายศัตรูพืชแล้วยังทำลายศัตรูธรรมชาติซึ่งเป็น
ปรสิตไปด้วยทำให้เกิดการระบาดของแมลงบางชนิดที่เป็นอันตรายต่อพืช
ในภายหลังหรืออาจเกิดการทำลายแมลงที่ช่วยผสมเกสรดังนั้นผลผลิต
อาจลดลงได้
3. อันตรายต่อพืชและสิ่งมีชีวิตในดิน
พืชจะดูดซึมสารพิษเข้าไป ทำให้เจริญเติบโตผิดปกติ ผลผลิตต่ำ หรือ
เกิดอันตราย และการสูญพันธุ์ขึ้น แบคทีเรียที่สร้างไนเทรตในดิน หากได้รับ
ยาฆ่าแมลง เช่น ดีลดริน อัลดรินและคลอเดนที่มีความเข้มข้น100พีพีเอ็ม
จะทำให้กระบวนการสร้างไนเทรตของแบคทีเรียได้รับความกระทบกระเทือน
ได้รับการกระทบกระเทือน


ที่มา   http://student.nu.ac.th/teerapat/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%883.html

ปภ.สรุปภัยแล้งเหลือ 47 จังหวัด น้ำในเขื่อนยังปกติ

ปภ.สรุปภัยแล้งเหลือ47จว.น้ำในเขื่อนยังปกติ
อธิบดี ปภ. เผย ยังคงเหลือพื้นที่ภัยพิบัติแล้ง 47 จว. ส่วนปริมาณน้ำในเขื่อนหลัก เป็นไปตามเป้า
นายวิบูลย์ สงวนพงศ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า จังหวัดได้ประกาศยุติสถานการณ์ภัยแล้งแล้ว 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดแพร่ ลำพูน อุตรดิตถ์ และจันทบุรี ปัจจุบันคงเหลือพื้นที่ประสบภัยแล้งที่จังหวัดได้ประกาศให้เป็นพื้นที่ภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ภัยแล้ง) จำนวน 47 จังหวัด 480 อำเภอ 3,292 ตำบล 35,414 หมู่บ้านราษฎรได้รับความเดือดร้อน 3,225,335 ครัวเรือน 12,197,209 คน พื้นที่การเกษตร ได้รับความเสียหาประมาณ 945,097 ไร่ โดยมีระดับรุนแรง 28 จังหวัด, ระดับปานกลาง 10 จังหวัด และระดับเล็กน้อย 9 จังหวัด

โดยสภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั่วประเทศ

มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ รวม 37,333 ล้าน ลบ.ม. หรือ ร้อยละ 53 น้อยกว่าปี 2554 จำนวน 507 ล้าน ลบ.ม., อ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล มีปริมาตรน้ำในอ่างรวม 6,268 ล้าน ลบ.ม. หรือร้อยละ 47 และที่อ่างเก็บน้ำเขื่อนสิริกิติ์ มีปริมาตรน้ำในอ่าง 4,684 ล้าน ลบ.ม. หรือร้อยละ 49

ที่มา   http://tnews.teenee.com/etc/80552.html

ปัญหาสิ่งแวดล้อม




ที่มา   http://www.youtube.com/watch?v=T2ZRlHVOVDM&feature=related

กรมควบคุมมลพิษ




ที่มา   http://www.youtube.com/watch?v=kqqy8SEPJW0

วันอังคารที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ผลกระทบจากมลพิษทางน้ำ

น้ำที่อยู่ในระดับรุนแรง ซึ่งประชาชนทั่วไป เรียกว่า น้ำเสีย มีลักษณะที่เห็นได้ชัดเจน คือตะกอนขุ่นข้น สีดำคล้ำ ส่งกลิ่นเน่าเหม็น ก่อให้เกิดความรำคราญต่อชุมชน และอาจมีฟองลอยอยู่เหนือน้ำเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม ลักษณะของน้ำเสียบางครั้งเราอาจมองไม่เห็นก็ได้ ถ้าน้ำนั้นปนเปื้อนด้วยสารพิษ เช่น ยาปราบศัตรู หรือยาฆ่าแมลง แร่ธาตุ เป็นต้น

น้ำที่เป็นมลพิษจะมีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตอย่างเห็นได้ชัดกว่า ปัญหาสิ่งแวดล้อมอื่นๆเพราะก่อให้เกิดผลเสียหายหลายประการ ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้

1. ผลกระทบทางด้านสาธารณสุข

2. ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ

3. ผลกระทบทางด้านสังคม

แนวทางการป้องกันแก้ไขปัญหามลพิษทางน้ำ

1. การบำบัดน้ำเสีย

2. การกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล

3. การให้การศึกษาและความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหามลพิษทางน้ำแก่ประชาชน

4. การใช้กฎหมาย มาตรการ และข้อบังคับ

5. การศึกษาวิจัยคุณภาพน้ำและสำรวจแหล่งที่ระบายน้ำเสียลงสู่แม่น้ำ

วันจันทร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2555

มลพิษต่อสิ่งแวดล้อม

           ปัจจุบันเราจะพบแหล่งน้ำที่เน่าสกปรกอยู่ทั่วไป น้ำลักษณะเช่นนี้ไม่สามารถนำมาใช้อุปโภคและบริโภคได้ ทั้งก่อให้เกิดผลกระทบที่เป็นอันตรายและความเสียหายอย่างมหาศาลต่อการประมง การเกษตร การสาธารณสุข ประการสำคัญคือ ทำให้ระบบนิเวศธรรมชาติถูกทำลาย หรือเสื่อมคุณภาพจนไม่เหมาะที่สิ่งมีชีวิตจะอาศัยอยู่ได้ ทำให้เกิดการตายของสัตว์และพืชน้ำเป็นจำนวนมากทำให้แหล่งน้ำเกิดการเน่าและขาดออกซิเจนที่ละลายน้ำ แหล่งน้ำที่มีสารพิษพวกยาฆ่าแมลง และยาปราบศัตรูพืชสะสมอยู่มาก รวมทั้งแหล่งน้ำที่มีคราบน้ำมันปกคลุม และ โรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ที่ปล่อยสารพิษ และความร้อนลงสู่แหล่งน้ำ หากน้ำดื่มน้ำใช้มีสารพิษ และเชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นเชื้อโรคปะปนมาจะก่อให้เกิดโรคนานาชนิดกับมนุษย์และสัตว์ น้ำที่เสื่อมคุณภาพหากนำมาผ่านกระบวนการกำจัดของเสียออก เพื่อให้ได้น้ำดื่มน้ำใช้ที่สะอาดปราศจากเชื้อโรคและสารพิษ จะเป็นเหตุให้เกิดการสิ้นเปลืองทรัพยากร สิ้นเปลืองเงินในการจัดการเพื่อผลิตน้ำที่ได้คุณภาพเป็นจำนวนที่สูงมาก เนื่องจากมลพิษทางน้ำก่อให้เกิดความเสื่อมโทรมนานาประการขึ้นกับระบบนิเวศธรรมชาติ แหล่งเกษตรกรรม แหล่งประมง และแหล่งชุมชน ดังนั้นจึงควรหาแนวทางป้องกันการเน่าเสียของน้ำ เพื่อจะได้ไม่ต้องเสียเวลาและงบประมาณในการแก้ไขน้ำเน่า ให้กลับมาเป็นน้ำที่ดีมีคุณภาพ

              ผลกระทบของน้ำเสียมีดังต่อไปนี้ คือน้ำจะมีสีและกลิ่นที่น่ารังเกียจ น้ำเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม เป็นแหล่งของเชื้อโรคต่างๆ สู่มนุษย์ สัตว์ และพืช อีกทั้งยังเป็นอันตรายต่อสุขภาพ รวมทั้งมลพิษทางน้ำจะส่งผลให้มีการทำลายทัศนียภาพในเรื่องสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวด้วย

           สิ่งที่น่าวิตกคือ แหล่งน้ำที่ใหญ่ที่สุด คือ มหาสมุทรและทะเลนั้น ปัจจุบันได้กลายเป็นแหล่งสะสมสารมลพิษทางน้ำเกือบทุกชนิด หากเกิดการสะสมมากขึ้นเป็นลำดับ มนุษย์จะได้รับผลกระทบที่เป็นอันตรายทั้งทางตรงและทางอ้อมที่จะเกิดขึ้นในปัจจุบัน และในอนาคต





 รูปที่ 3.8 ผลกระทบจากมลพิษทางน้ำ
 

สาเหตุของปัญหาสิ่งแวดล้อม


1. ปัญหาประชากร
        1) การเพิ่มจำนวนประชากร
        2) ขยายตัวทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยี เทคโนโลยีที่ทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม ได้แก่
                (1) ด้านการเกษตรการใช้ปุ๋ยและยาฆ่าแมลง
                (2) ด้านอุตสาหกรรมเนื่องจากการใช้เครื่องจักรแทนคนก่อให้เกิด
                        - ปัญหาว่างงาน
                        - ขาดแคลนทรัพยากร
                (3) ด้านคมนาคม ความสะดวกสบายในการคมนาคมทำให้เกิดการจราจรติดขัดจากมีปริมาณการใช้มาก
                (4) สารกัมมันตภาพรังสี ซึ่งนำมาใช้ในการถนอมอาหาร การสงคราม
        3) ความเชื่อและค่านิยมที่ไม่เหมาะสม ก่อให้เกิดผลต่อการทำลายสิ่งแวดล้อมเพื่อตอบสนองความเชื่อและค่านิยมนั้น เช่น
                (1) การนิยมความฟุ่มเฟือย หรูหรา
                (2) มีความมักง่ายและความประมาท
                (3) ชอบความเป็นเอกเทศและความเป็นอิสระ
                (4) ความชื่นชอบสิ่งประดิษฐ์หรือความงามตามธรรมชาติ เช่น การปลูกสร้างอาคารตามไหล่เขา
       
    2. การขยายตัวของเมือง               
                 เกิดจากภาวะหรือปัจจัยทางสังคมที่ผลักดันให้คนส่วนใหญ่เกาะกลุ่มกันเข้ามา อยู่ในเขตเมือง ภาวะดังกล่าวได้แก่
        1) แรงดึง เป็นลักษณะที่พิจารณาได้จาก ความก้าวหน้าในการติดต่อสื่อสาร การศึกษา เศรษฐกิจ ความสะดวกสบาย รายได้ต่อหัวของคนในเขตเมืองที่มีสูงกว่า จึงเป็นแรงดึงดูดคนจากชนบท
ซึ่งมีโอกาสด้อยกว่า เข้ามาสู่เมืองมากขึ้น
        2) แรงดัน เป็นลักษณะที่พิจารณาได้จากสภาพ ปัญหาในชนบท เช่น ความยากจน จากการประกอบอาชีพเกษตรกรรม ต้องอาศัยสภาพภูมิอากาศ ปริมาณน้ำฝน การขยายตัวทางเศรษฐกิจได้รับ
การส่งเสริมไม่เพียงพอ จึงเสมือนเป็นแรงผลักดันให้ออกจากชนบทเข้าสู่เมืองเพื่อแสวงหาโอกาสที่ดีกว่า


    3. สภาพการใช้ที่ดินไม่เหมาะสม
                    พบว่าการเพิ่มขึ้นของประชากรและสาเหตุการเกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมอื่นได้ก่อให้ เกิดสภาพการใช้ที่ดินไม่เหมาะสม เพราะขาดการควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดิน ซึ่งบางพื้นที่เหมาะแก่
การเพาะปลูก แต่ถูกสภาพการเป็นเมืองเข้าก่อสร้างซ้อนทับ มีผลทำให้ต้องแสวงหาพื้นที่ทำการเกษตรใหม่ โดยบุกรุกพื้นที่ป่า


    4. การใช้เทคโนโลยีไม่เหมาะสม
                    ได้แก่การใช้สารเคมีในการเกษตรและอุตสาหกรรมรวมถึงการใช้เทคโนโลยีที่ไม่ถูก วิธี ย่อมส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม นกจากนี้การใช้เทคโนโลยีทำให้สามารถทำลายทรัพยากร
ได้เป็นจำนวนมาก ทำให้ระบบนิเวศถูกทำลายอย่างรวดเร็ว การนำปะการังเก็บขึ้นมาทำเป็นสินค้าที่ระลึก ทำให้สัตว์น้ำไม่มีที่อยู่อาศัย คุณภาพดินเสื่อมจากสารเคมีที่ใช้ในการเกษตรและปุ๋ยเคมีในระยะเวลา
นาน ๆ อย่างต่อเนื่อง



วันพฤหัสบดีที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2555

โรคที่เกิดจากความรัอน

         โรคฮีทสโตรก เป็นโรคที่เกิดจากการที่ร่างกายได้รับความร้อนมากเกินไปจนทำให้ความร้อนในร่างกาย (core temperature) สูงกว่า 40 องศาเซลเซียส อาการที่เบื้องต้น ได้แก่ เมื่อยล้า อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน วิตกกังวล สับสน ปวดศรีษะ ความดันต่ำ หน้ามืด ไวต่อสิ่งเร้าง่าย และยังอาจมีผลต่อระบบไหลเวียน ซึ่งอาจมีอาการเพิ่มเติมอีก ได้แก่ ภาวะขาดเหงื่อ เพ้อ ชัก ไม่รู้สึกตัว ไตล้มเหลว มีการตายของเซลล์ตับ หายใจเร็ว มีการบวมบริเวณปอดจากการคั่งของของเหลว หัวใจเต้นผิดจังหวะ การสลายกล้ามเนื้อลาย ช็อค และเกิดการสะสมของ fibrin จนไปอุดตันหลอดเลือดขนาดเล็กทำให้อวัยวะต่างๆ ล้มเหลว ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีอาจทำให้เสียชีวิตได้ สาเหตุการเกิดโรคออกเป็น 2 ประเภท คือ
          - Classical Heat Stroke เกิดจากความร้อนในสิ่งแวดล้อมที่อาศัยอยู่มีมากเกินไปส่วนใหญ่เกิดในช่วงที่มีอากาศร้อน พบบ่อยในผู้ที่มีอายุมากและมีโรคเรื้อรัง มักเกี่ยวกับความผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลาง อาการที่สำคัญ คือ อุณหภุมิร่างกายสูง ไม่มีเหงื่อ


        - Exertional Heat Stroke เกิดจากการออกกำลังที่หักโหมเกินไป มักจะเกิดในหน้าร้อนโดยเฉพาะกลุ่มผู้ใช้แรงงานและนักกรีฑา อาการคล้ายกับ Classical แต่ต่างตรงที่กลุ่มผู้ป่วยประเภทนี้จะมีเหงื่อออก นอกจากนี้ยังพบการเกิดการสลายเซลล์กล้ามเนื้อลาย โดยจะมีอาการแทรกซ้อน ได้แก่ ระดับโพแทสเซียมในเลือดสูง ระดับฟอสฟอรัสในเลือดสูง ระดับแคลเซียมในเลือดต่ำ และพบไมโอโกลบิน  ในปัสสาวะด้วย บุคคลที่มีความเสี่ยงว่าจะเกิดโรคฮีทสโตรก
          บุคคลที่มีความเสี่ยงว่าจะเกิดโรคฮีทสโตรก ได้แก่ ทหารที่เข้ารับการฝึกโดยปราศจากการเตรียมสภาพร่างกายให้พร้อมในการเผชิญสภาพอากาศร้อน รวมถึงบรรดานักกีฬาสมัครเล่นและผู้ที่ทำงานในสภาพอากาศที่ร้อนชื้น รวมทั้งผู้สูงอายุ เด็ก คนอดนอน คนดื่มเหล้าจัด และผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงด้วย


น้ำเน่า กทม. ทำไมน้ำถึงเน่า



ที่มา   http://www.youtube.com/watch?v=O7s026LjGKY&feature=related

มลพิษทางเสียง



โรงงานเพชรจินดา ผลิตแผ่นฝ้าเพดานจากยิบซั่ม ปล่อยเสียงรบกวนบ้านเรือนใกล้เคียงรุนแรงมากทั้งวัน

ที่มา   http://www.youtube.com/watch?v=LV6pEBK8olQ

Noise Pollution

        ภาวะมลพิษทางเสียง ( Noise Pollution )  หมายถึง สภาวะเสียงที่ดังเกินไปจนก่อให้เกิดความรำคาญ หรือก่อให้เกิดอันตรายต่อระบบการได้ยินของมนุษย์และสัตว์
แหล่งกำเนิดภาวะมลพิษทางเสียง
       1. การจราจร มาจากยานพาหนะประเภทต่างๆ เช่น รถไฟ รถยนต์ รถจักรยานยนต์ รถบรรทุก เรือหางยาว และเครื่องบิน เป็นต้น
       2. สถานประกอบการต่างๆ ได้แก่ โรงงานอุตสาหกรรม การก่อสร้าง อู่ซ่อมรถ เป็นต้น
       3. ชุมชนและสถานบริการ ได้แก่ เสียงจากคนหรือเครื่องใช้ภายในบ้าน เช่น วิทยุ โทรทัศน์ และเสียงในย่านธุรกิจการค้า สถานบันเทิงเริงรมย์ เป็นต้น
ระดับเสียงจากกิจกรรมต่าง ๆ


ที่มา   http://www.thaigoodview.com/library/sema/sukhothai/sureeporn_j/toxic/sec03p01.html

โลกให้ชีวิต



ที่มา   http://www.youtube.com/watch?v=bLoPDlAbqqw

เทคโนโลยีสะอาด



ที่มา   http://www.youtube.com/watch?v=FBHqL5IYPS8

เทคโนโลยีสะอาด (CLEAN TECHNOLOGY)

          ในปัจจุบัน ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ได้ทวีความรุนแรงมากขึ้น จึงได้มีการนำเทคโนโลยีสะอาด (CLEAN TECHNOLOGY) หรือมีชื่ออื่นๆ ที่มีความหมายใกล้เคียงกัน หรือเหมือนกันอีกคือ การป้องกันมลพิษ (POLLUTION PREVENTION) หรือ P2) การผลิตที่สะอาด (CLEANER PRODUCTION หรือ CP) และการลดของเสีย ให้น้อยที่สุด (WASTE MINIMIZATION) มาใช้ ซึ่งทั้งหมดเป็นการป้องกัน ของเสียที่แหล่งกำเนิด แทนการควบคุมบำบัด และจัดของเสียแบบเดิม ที่เมื่อเปรียบเทียบแล้ว ค่าใช้จ่ายสูงกว่า การใช้เทคโนโลยีสะอาด จะเป็นวิธีการ นำไปสู่มาตรฐาน การจัดการสิ่งแวดล้อม ISO14000 ซึ่งเป็นที่ยอมรับ ในวงการค้า ในโลกปัจจุบันด้วย


           "เทคโนโลยีสะอาด" ก็คือ กลยุทธ์ในการปรับปรุง ผลิตภัณฑ์ บริการ และกระบวนการ อย่างต่อเนื่อง เพื่อจัดการทรัพยากร อย่างมีประสิทธิภาพ ให้เปลี่ยนเป็นของเสีย น้อยที่สุดหรือไม่มีเลย การลดมลพิษที่แหล่งกำเนิด จึงเป็นทั้งการรักษาสิ่งแวดล้อม และการลดค่าใช้จ่าย ในการผลิตไปพร้อม ๆ กันด้วย สำหรับประเทศไทย การนำเทคโนโลยีสะอาด มาใช้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ
1. เป็นการเสริมสร้าง ความสามารถ ในการแข่งขัน ในตลาดโลก เนื่องจากความได้เปรียบ ด้านต้นทุนและแรงงาน ของอุตสาหกรรมไทยมีน้อยลง
2. เป็นการพัฒนาขีดความสามารถ และประสิทธิภาพ ของการประกอบธุรกิจ เพื่อการพัฒนาแบบยั่งยืน ให้สอดคล้องกับ แผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8

ที่มา   http://www.thaifactory.com/Operate/CleanTech.htm

The end of the earth



ภาพยนตร์ชุดนี้ ได้รวบรวมเหตุการณ์ภัยพิบัติ ตั้งแต่เดือนมกราคม 2011 ถึง เดือนมีนาคม 2011 จัดทำเพื่อให้เยาวชนรู้จักคุณค่าของทรัพยากร และมีความรู้เท่าทันต่อภัยพิบัติ

ที่มา   http://www.youtube.com/watch?v=gNjL94b3sF8&feature=related

Hazardous Materials Safety Continuum

          การพัฒนาภาคอุตสาหกรรมและการเกษตรของประเทศอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้มีการผลิตและนำเข้าสารเคมีอันตรายชนิดต่าง ๆ มาใช้ในประเทศเป็นจำนวนมาก และปัญหาหนึ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้คือ การเพิ่มขึ้นของการเกิดอุบัติภัยจากสารเคมีทั้งในกระบวนการผลิต การจัดเก็บและการขนส่งสารเคมี ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนและสิ่งแวดล้อมบริเวณใกล้เคียงอย่างมาก ดังจะเห็นได้จากสถิติการเกิดอุบัติภัยจากสารเคมี ทั่วประเทศในช่วงปี 2542 - ปัจจุบัน มีจำนวนทั้งสิ้น 142 ครั้ง มีผู้บาดเจ็บไม่ต่ำกว่า 962 คน และผู้เสียชีวิต 126 คน มูลค่าความเสียหายประมาณ 2000 ล้านบาท ทั้งนี้ ภัยจากสารเคมีเป็นภัยเฉพาะด้านที่มีความจำเป็นต้องใช้ความเชี่ยวชาญเฉพาะจากหลายหน่วยงานในการปฏิบัติการตอบโต้เหตุ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างเร่งด่วนที่จะต้องจัดทำมาตรการเตรียมความพร้อมให้หน่วยงานท้องถิ่นและภูมิภาคสามารถรองรับอุบัติภัยจากสารเคมีได้ โดยให้มีการเตรียมแผนปฏิบัติการฉุกเฉินที่มีแนวปฏิบัติชัดเจน การเสริมสร้างศักยภาพของเจ้าหน้าที่ระดับบัญชาการในด้านการสั่งการตามระบบบัญชาการ ณ ที่เกิดเหตุ (Incident Command System) และเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการฉุกเฉินในด้านเทคนิคการระงับอุบัติภัยจากสารเคมี รวมทั้งการจัดเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์ตอบโต้เหตุฉุกเฉินที่เหมาะสม เพื่อให้การจัดการอุบัติภัยฉุกเฉินจากสารเคมีเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัยต่อเจ้าหน้าที่และประชาชนในพื้นที่ ตลอดจนคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนสืบไป
          วงจรการตอบโต้เหตุฉุกเฉินจากสารเคมี (Hazardous Materials Safety Continuum) เป็นกระบวนการที่มีความต่อเนื่อง ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ


ที่มา   http://www.pcd.go.th/info_serv/haz_response.htm

ของเสียจากโรงฆ่าสัตว์


“ของเสีย” (ตาม พรบ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ 2535) หมายความว่า ขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูล น้ำเสีย อากาศเสีย มลสาร หรือวัตถุอันตรายอื่นใด ซึ่งถูกปล่อยทิ้งหรือมีที่มาจากแหล่งกำเนิดมลพิษ รวมทั้งกากตะกอนหรือสิ่งตกค้างจากสิ่งเหล่านั้นที่อยู่ในสภาพของแข็ง ของเหลว หรือก๊าซ

โรงฆ่าสัตว์ของเทศบาลต่างๆ ทั่วประเทศ ส่วนมากสัตว์ที่นำมาฆ่าจะเป็นสุกร มีจำนวนสุกรที่นำมาฆ่าแต่ละโรงประมาณ 70 - 150 ตัว/วัน และมีโรงฆ่าสัตว์บางแห่งมีการฆ่าโคและกระบือ ซึ่งมีจำนวนค่อนข้างน้อย คือประมาณวันละ 1 - 2 ตัว/วัน ในระหว่างปี พ.ศ. 2544 - 2545 กรมควบคุมมลพิษได้สำรวจของเสียจากโรงฆ่าสัตว์ พบว่าของเสียที่เกิดขึ้น ได้แก่ น้ำเสีย และกากของเสีย ซึ่งน้ำเสียจะนำเข้าสู่ระบบบำบัดน้ำเสียในส่วนกากของเสียยังไม่มีระบบการจัดการที่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร โดยเทศบาลบางแห่งรวบรวมเก็บขนไปกำจัดร่วมกับขยะ มูลฝอยทั่วไปของเทศบาลและเทศบาลบางแห่งมีการปล่อยกากของเสียออกสู่สิ่งแวดล้อมอันนำมาซึ่งปัญหามลพิษทางสิ่งแวดล้อมปัญหาแหล่งเพาะพันธุ์ของเชื้อโรคและปัญหาทางทัศนียภาพต่างๆ เป็นต้น ดังนั้นเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาจากของเสียดังกล่าว เทศบาลต่างๆทั่วประเทศจึงจำเป็นต้องจัดหาวิธีการจัดการของเสียที่เหมาะสมต่อไป

ที่มา   http://www.pcd.go.th/info_serv/waste_wkillanimal.html

กบนอกกะลา ตอน ขยะสัญจร




ที่มา   http://www.youtube.com/watch?v=BEz0OWyxXuU&feature=related

การจัดการขยะ



การจัดการขยะมูลฝอยแบบครบวงจรด้วยวิธีการเชิงกล-ชีวภาพ MBT โดยการตั้งกองหมักแบบไร้กลิ่น ซึ่งเป็นการกำจัดขยะมูลฝอย อย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับพื้นที่ในประเทศไทยที่สุด


ที่มา   http://www.youtube.com/watch?v=kWnabzgoaAY

ขยะ Waste

ขยะมูลฝอย สามารถแบ่งตามลักษณะทางกายภาพของขยะได้เป็น 4 ประเภท ได้แก่


1. ขยะย่อยสลาย (Compostable waste) หรือ มูลฝอยย่อยสลาย คือ ขยะที่เน่าเสียและย่อยสลายได้เร็ว สามารถนำมาหมักทำปุ๋ยได้ เช่น เศษผัก เปลือกผลไม้ เศษอาหาร ใบไม้ เศษเนื้อสัตว์ เป็นต้น แต่จะไม่รวมถึงซากหรือเศษของพืช ผัก ผลไม้ หรือสัตว์ที่เกิดจากการทดลองในห้องปฏิบัติการ โดยที่ขยะย่อยสลายนี้เป็นขยะที่พบมากที่สุด คือ พบมากถึง 64% ของปริมาณขยะทั้งหมดในกองขยะ


2. ขยะรีไซเคิล (Recyclable waste) หรือ มูลฝอยที่ยังใช้ได้ คือ ของเสียบรรจุภัณฑ์ หรือวัสดุเหลือใช้ ซึ่งสามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ได้ เช่น แก้ว กระดาษ เศษพลาสติก กล่องเครื่องดื่มแบบ UHT กระป๋องเครื่องดื่ม เศษโลหะ อะลูมิเนียม ยางรถยนต์ เป็นต้น สำหรับขยะรีไซเคิลนี้เป็นขยะที่พบมากเป็นอันดับที่สองในกองขยะ กล่าวคือ พบประมาณ 30% ของปริมาณขยะทั้งหมดในกองขยะ


3. ขยะอันตราย (Hazardous waste) หรือ มูลฝอยอันตราย คือ ขยะที่มีองค์ประกอบหรือปนเปื้อนวัตถุอันตรายชนิดต่างๆ ซึ่งได้แก่ วัตถุระเบิด วัตถุไวไฟ วัตถุออกซิไดซ์ วัตถุมีพิษ วัตถุที่ทำให้เกิดโรค วัตถุกรรมมันตรังสี วัตถุที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม วัตถุกัดกร่อน วัตถุที่ก่อให้เกิดการระคายเคือง วัตถุอย่างอื่นไม่ว่าจะเป็นเคมีภัณฑ์หรือสิ่งอื่นใดที่อาจทำให้เกิดอันตรายแก่บุคคล สัตว์ พืช ทรัพย์สินหรือสิ่งแวดล้อม เช่น ถ่านไฟฉาย หลอดฟลูออเรสเซนต์ แบตเตอรี่โทรศัพท์เคลื่อนที่ ภาชนะบรรจุสารกำจัดศัตรูพืช กระป๋องสเปรย์บรรจุสีหรือสารเคมี เป็นต้น ขยะอันตรายนี้เป็นขยะที่มักจะพบได้น้อยที่สุด กล่าวคือ พบประมาณเพียง 3% ของปริมาณขยะทั้งหมดในกองขยะ




4. ขยะทั่วไป (General waste) หรือ มูลฝอยทั่วไป คือ ขยะประเภทอื่นนอกเหนือจากขยะย่อยสลาย ขยะรีไซเคิล และขยะอันตราย มีลักษณะที่ย่อยสลายยากและไม่คุ้มค่าสำหรับการนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ เช่น ห่อพลาสติกใส่ขนม ถุงพลาสติกบรรจุผงซักฟอก พลาสติกห่อลูกอม ซองบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ถุงพลาสติกเปื้อนเศษอาหาร โฟมเปื้อนอาหาร ฟอล์ยเปื้อนอาหาร เป็นต้น สำหรับขยะทั่วไปนี้เป็นขยะที่มีปริมาณใกล้เคียงกับขยะอันตราย กล่าวคือ จะพบประมาณ 3% ของปริมาณขยะทั้งหมดในกองขยะ

ที่มา   http://www.pcd.go.th/info_serv/waste_3R.htm

หมอกควันภาคเหนือ



ที่มา   http://www.youtube.com/watch?v=q_75XVjl4ho&feature=related

สถานการณ์มลพิษหมอกควันในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย



สถานการณ์มลพิษหมอกควันในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย
วันที่ ๕ เมษายน ๒๕๕๕
จากผลการตรวจวัดคุณภาพอากาศในพื้นที่ภาคเหนือ ในวันที่ 5 เมษายน 2555 พบปริมาณฝุ่นละอองขนาด ไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10) เฉลี่ย 24 ชั่วโมง มีค่าระหว่าง 59.2 – 169.6 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร คุณภาพอากาศส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง   จังหวัดแม่ฮ่องสอน พบปริมาณฝุ่นละอองในระดับมีผลกระทบต่อสุขภาพ   ปริมาณฝุ่นละอองลดต่ำลงกว่าวันก่อนหน้าเกือบทุกสถานี ยกเว้นเพียงสถานีสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ที่พบฝุ่นละอองเพิ่มสูงเล็กน้อย
พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ จ.เชียงใหม่ มีตำแหน่งที่ตรวจวัดอยู่บนภูเขาสูง อยู่เหนือระดับชั้นอุณหภูมิผกผัน (Inversion) ส่งผลให้ปริมาณฝุ่นละอองที่ตรวจวัดได้ไม่ได้รับผลกระทบจากแหล่งกำเนิดในแอ่งเชียงใหม่ – ลำพูน ปริมาณฝุ่นละอองมีค่า 37.5 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร คุณภาพอากาศอยู่ในระดับดี
กรมอุตุนิยมวิทยาคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 4 – 6 เมษายน บริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางจากประเทศจีนระลอกใหม่จะแผ่เสริมลงมาปกคลุม ทำให้พื้นที่ภาคเหนือ มีฝนฟ้าคะนองกระจาย และลมกรรโชกแรง สถานการณ์หมอกควันในพื้นที่ภาคเหนือจึงเบาบางลง
กรมควบคุมมลพิษ ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังคงดำเนินมาตรการลดและควบคุมการเผาในที่โล่งอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดวิกฤติสถานการณ์มลพิษหมอกควันขึ้นอีกตลอดหน้าแล้งนี้

ที่มา   http://aqnis.pcd.go.th/node/4290

วันพฤหัสบดีที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2555

มลพิษทางน้ำ



ที่มา   https://www.youtube.com/watch?v=wJu7UKx9NaU&feature=related

ผลกระทบของน้ำเสีย

ผลกระทบของน้ำเสีย
"  มีสีและกลิ่นที่น่ารังเกียจ ไม่สามารถใช้อุปโภคและบริโภคได้
"  เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตทั้งในน้ำ และในบริเวณใกล้เคียงทำให้เสีย
ความสมดุลทางธรรมชาติ เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม
"  เป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน เพราะเป็นแหล่ง
เพาะพันธุ์ของเชื้อโรคและเป็นพาหนะนำโรคต่าง ๆ สู่มนุษย์ สัตว์ และพืช
"  ทำลายทัศนียภาพ โดยเฉพาะแหล่งน้ำที่ใช้ในการคมนาคมและ
แหล่งท่องเที่ยว
"  เป็นปัญหาต่อกระบวนการผลิตน้ำประปา  ทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย
ในการปรับปรุงคุณภาพน้ำเพิ่มมากขึ้น






ที่มา   http://student.nu.ac.th/teerapat/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%882.html

มลพิษทางอากาศ

"มลพิษทางอากาศ" มลพิษทางอากาศเป็นปัญหาสำคัญปัญหาหนึ่งที่เกิดขึ้นในเขตเมือง โดยเฉพาะกรุงเทพมหานคร เนื่องจากมลพิษทางอากาศก่อให้เกิดผลกระทบด้านสุขภาพอนามัย ไม่ว่าจะเป็นด้านกลิ่น ความรำคาญ ตลอดจนผลกระทบต่อสุขภาพที่เกี่ยวกับระบบหายใจ และระบบหัวใจและปอด ดังนั้นการติดตามเฝ้าระวังปริมาณมลพิษในบรรยากาศจึงเป็นภารกิจหนึ่งที่มีความสำคัญ กรมควบคุมมลพิษเป็นหน่วยงานที่ทำการตรวจวัดคุณภาพอากาศมาอย่างต่อเนื่อง โดยทำการตรวจวัดมลพิษทางอากาศที่สำคัญ ได้แก่ ฝุ่นละอองขนาดเล็ก (ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน: PM-10) ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) สารตะกั่ว (Pb) ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) ไนโตรเจนไดออกไซด์ (NOx) และก๊าซโอโซน (O3)



ที่มา  http://www.thaienvimonitor.net/Concept/priority5.htm

การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิโลก



ที่มา    http://www.youtube.com/watch?v=KCae1PHfefg

Environmental Management System (ISO)


ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม มอก. 14001:2548 (ISO 14001: 2004) Environmental Management System (ISO 14001:2004) มีวัตถุประสงค์เพื่อให้องค์กรมีความตระหนักถึงความสำคัญของการจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อให้เกิดการพัฒนาสิ่งแวดล้อมควบคู่กับการพัฒนาธุรกิจ โดยมุ่งเน้นในการป้องกันมลพิษ (Prevention of Pollution) และการปรับปรุงให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง การนำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14001:2004 มาใช้จะก่อให้เกิดประโยชน์กับองค์กรในการลดค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับวัตถุดิบและพลังงาน และการบำบัดมลพิษ