น้ำเสียตาม พ.ร.บ ส่งเสริมและรักษาสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ หมายถึง ของเสียที่อยู่ในสภาพที่เป็นของเหลว รวมทั้งมวลสารที่ปะปนหรือปนเปื้อนอยุ่ในของเหลวนั้น
ลักษณะของน้ำเสีย
ลักษณะของน้ำเสียแบ่งออกได้ 3 ด้าน คือ ด้านายภาพ ด้านเคมี และด้านชีวภาพ
1.ลักษณะของน้ำเสียทางกายภาพ เช่น
-ปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ทั้งหมด หมายถึง ปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำและสามารถไหลผ่านกระดาษกรองใยแก้ว แล้วนำน้ำไปที่กรองได้ ไประเหยจนแห้ง แล้วจึงนำไปอบ
-ของแข็งแขวนลอย หมายถึงปริมาณของแข็งแขวนลอยที่เหลือค้างบนกระดาษกรองใยแก้ว
-ความขุ่น หมายถึง สมบัติทางแสงของสารแขวนลอยซึ่งทำให้แสงกระจาย และดูดกลืนมากกว่าที่จะอมให้แสงผ่านเป็นเส้นตรง ความขุ่นของน้ำเกิดการมีสารแขวนลอยต่างๆ เช่น ดิน ดินตะกอน
2.ลักษณะของน้ำเสียทางเคมี เช่น
-ออกซิเจนละลาย การหาดีโอ(DO)หรืออกซิเจนละลาย สามารถทำได้ทั้งวิธีทางเคมี และใช้เครื่องวัดโดยตรง
-บีโอดี(BOD)หมายถึง ปริมาณออกซิเจนที่ใช้ในการย่อยสลายสารอินทรีย์โดยแบคทีเรีย
-ซีโอดี(COD)หมายถึง ปริมาณออกซิเจนทั้งหมดที่ต้องการใช้เพื่อออกซิเดชันสารอินทรีย์ในน้ำ ด้วยสารเคมีซึ่งมีอำนาจในการออกซิไดส์สูงในสารละลายที่เป็นกรด ให้เป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในน้ำ ค่าซีโอดีมีความสำคัญในการวิเคราะห์คุณภาพน้ำทิ้ง การควบคุมระบบบำบัดน้ำทิ้ง การควบคุมระบบบำบัดน้ำเสีย ค่า COD นี้มีหน่วยเป็น มิลลิกรัม/ลิตร
-ค่าความกรด-ด่าง(pH)มีความสำคัญในการควบคุมคุณภาพน้ำและน้ำเสียควบคุมให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิต เพื่อไม่ให้เกิดการกัดกร่อนของท่อ เพื่อใช้ในการควบคุมสารเคมีที่ใช้บำบัดน้ำเสียให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยทั่งไปน้ำมีค่า pH อยุ่ในช่วง 5-8 ค่า pH เป็นค่าที่แสดงปริมาณความเข้มข้นของอนุภาคไฮโดรเจนในน้ำ
-ไนโตรเจน เป็นธาตุที่มีความสำคัญในการสังเคราะห์โปรตีน ทำให้พืชน้ำมีการเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว
-สารโลหะหนักชนิดต่างๆขึ้นอยุ่กับชนิดของอุตสาหกรรม สารโลหะหนักยอมให้มีได้ในน้ำในปริมาณที่น้อยมากเนื่องจากบางตัวให้ความเป็นพิษสูง แต่บางชนิดหากทีปริมาณไม่มากนักจะมีผลดีต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ
3.ลักษณะของเสียทางชีวภาพ เช่น
-แบคทีเรีย คือ จุลินทรีย์เซลล์เดียว มีขนาดเล็ก ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เป็นผู้ย่อยสลายในแหล่งน้ำ
-รา เป็นจุลินทรีย์ที่มีหลายเซลล์ ไม่มีคลอโรฟีลล์ รามีความสำคัญในการย่อยสลายพวกคาร์บอนที่มีค่า pH ต่ำ รามีบทบาทสำคัญในการย่อยสลายสารอินทรีย์ในระบบบำบัดน้ำเสียบางระบบ
แหล่งกำเนิดน้ำเสีย แบ่งได้หลักๆดังนี้
1.น้ำเสียจากชุมชน หมายถึง น้ำที่เกิดจากการใช้ประโยชน์ในกิจกรรมต่างๆ และระบายน้ทิ้งลงสู่ท่อระบายน้ำ แหล่งรองรับน้ำเสีย หรือแหล่งน้ำธรรมชาติ โดยไม่ได้ผ่านการบำบัด
การตรวจสอบความเน่าเสียของน้ำ
วัดปริมาณออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำ นิยมหาได้ 2 แบบคือ
1.หาปริมาณออกซิเจนที่ใช้ทำปฏิกริยากับสารอินทรีย์ในน้ำเสีย ทั้งจุลินทรีย์ย่อยสลายได้และไม่ได้ วิธีนี้เป็นวิธีทางเคมี
2.หาปริมาณออกซิเจนที่จุลินทรีย์ใช้ย่อยสลายสารอินทรีย์ต่างๆในน้ำเสีย วิธีนี้ถือว่าเป็นวิธีทางชีววิทยา
3.หาปริมาณจุลินทีรย์ในน้ำ
4.วัดความเข้มข้นของสารต่างๆที่ละลายอยู่ในน้ำ
ที่มา http://www.dekgeng.com/thai/conp/7567.htm
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น