ปฏิทินปี2555

วันจันทร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2555

มลพิษต่อสิ่งแวดล้อม

           ปัจจุบันเราจะพบแหล่งน้ำที่เน่าสกปรกอยู่ทั่วไป น้ำลักษณะเช่นนี้ไม่สามารถนำมาใช้อุปโภคและบริโภคได้ ทั้งก่อให้เกิดผลกระทบที่เป็นอันตรายและความเสียหายอย่างมหาศาลต่อการประมง การเกษตร การสาธารณสุข ประการสำคัญคือ ทำให้ระบบนิเวศธรรมชาติถูกทำลาย หรือเสื่อมคุณภาพจนไม่เหมาะที่สิ่งมีชีวิตจะอาศัยอยู่ได้ ทำให้เกิดการตายของสัตว์และพืชน้ำเป็นจำนวนมากทำให้แหล่งน้ำเกิดการเน่าและขาดออกซิเจนที่ละลายน้ำ แหล่งน้ำที่มีสารพิษพวกยาฆ่าแมลง และยาปราบศัตรูพืชสะสมอยู่มาก รวมทั้งแหล่งน้ำที่มีคราบน้ำมันปกคลุม และ โรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ที่ปล่อยสารพิษ และความร้อนลงสู่แหล่งน้ำ หากน้ำดื่มน้ำใช้มีสารพิษ และเชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นเชื้อโรคปะปนมาจะก่อให้เกิดโรคนานาชนิดกับมนุษย์และสัตว์ น้ำที่เสื่อมคุณภาพหากนำมาผ่านกระบวนการกำจัดของเสียออก เพื่อให้ได้น้ำดื่มน้ำใช้ที่สะอาดปราศจากเชื้อโรคและสารพิษ จะเป็นเหตุให้เกิดการสิ้นเปลืองทรัพยากร สิ้นเปลืองเงินในการจัดการเพื่อผลิตน้ำที่ได้คุณภาพเป็นจำนวนที่สูงมาก เนื่องจากมลพิษทางน้ำก่อให้เกิดความเสื่อมโทรมนานาประการขึ้นกับระบบนิเวศธรรมชาติ แหล่งเกษตรกรรม แหล่งประมง และแหล่งชุมชน ดังนั้นจึงควรหาแนวทางป้องกันการเน่าเสียของน้ำ เพื่อจะได้ไม่ต้องเสียเวลาและงบประมาณในการแก้ไขน้ำเน่า ให้กลับมาเป็นน้ำที่ดีมีคุณภาพ

              ผลกระทบของน้ำเสียมีดังต่อไปนี้ คือน้ำจะมีสีและกลิ่นที่น่ารังเกียจ น้ำเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม เป็นแหล่งของเชื้อโรคต่างๆ สู่มนุษย์ สัตว์ และพืช อีกทั้งยังเป็นอันตรายต่อสุขภาพ รวมทั้งมลพิษทางน้ำจะส่งผลให้มีการทำลายทัศนียภาพในเรื่องสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวด้วย

           สิ่งที่น่าวิตกคือ แหล่งน้ำที่ใหญ่ที่สุด คือ มหาสมุทรและทะเลนั้น ปัจจุบันได้กลายเป็นแหล่งสะสมสารมลพิษทางน้ำเกือบทุกชนิด หากเกิดการสะสมมากขึ้นเป็นลำดับ มนุษย์จะได้รับผลกระทบที่เป็นอันตรายทั้งทางตรงและทางอ้อมที่จะเกิดขึ้นในปัจจุบัน และในอนาคต





 รูปที่ 3.8 ผลกระทบจากมลพิษทางน้ำ
 

สาเหตุของปัญหาสิ่งแวดล้อม


1. ปัญหาประชากร
        1) การเพิ่มจำนวนประชากร
        2) ขยายตัวทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยี เทคโนโลยีที่ทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม ได้แก่
                (1) ด้านการเกษตรการใช้ปุ๋ยและยาฆ่าแมลง
                (2) ด้านอุตสาหกรรมเนื่องจากการใช้เครื่องจักรแทนคนก่อให้เกิด
                        - ปัญหาว่างงาน
                        - ขาดแคลนทรัพยากร
                (3) ด้านคมนาคม ความสะดวกสบายในการคมนาคมทำให้เกิดการจราจรติดขัดจากมีปริมาณการใช้มาก
                (4) สารกัมมันตภาพรังสี ซึ่งนำมาใช้ในการถนอมอาหาร การสงคราม
        3) ความเชื่อและค่านิยมที่ไม่เหมาะสม ก่อให้เกิดผลต่อการทำลายสิ่งแวดล้อมเพื่อตอบสนองความเชื่อและค่านิยมนั้น เช่น
                (1) การนิยมความฟุ่มเฟือย หรูหรา
                (2) มีความมักง่ายและความประมาท
                (3) ชอบความเป็นเอกเทศและความเป็นอิสระ
                (4) ความชื่นชอบสิ่งประดิษฐ์หรือความงามตามธรรมชาติ เช่น การปลูกสร้างอาคารตามไหล่เขา
       
    2. การขยายตัวของเมือง               
                 เกิดจากภาวะหรือปัจจัยทางสังคมที่ผลักดันให้คนส่วนใหญ่เกาะกลุ่มกันเข้ามา อยู่ในเขตเมือง ภาวะดังกล่าวได้แก่
        1) แรงดึง เป็นลักษณะที่พิจารณาได้จาก ความก้าวหน้าในการติดต่อสื่อสาร การศึกษา เศรษฐกิจ ความสะดวกสบาย รายได้ต่อหัวของคนในเขตเมืองที่มีสูงกว่า จึงเป็นแรงดึงดูดคนจากชนบท
ซึ่งมีโอกาสด้อยกว่า เข้ามาสู่เมืองมากขึ้น
        2) แรงดัน เป็นลักษณะที่พิจารณาได้จากสภาพ ปัญหาในชนบท เช่น ความยากจน จากการประกอบอาชีพเกษตรกรรม ต้องอาศัยสภาพภูมิอากาศ ปริมาณน้ำฝน การขยายตัวทางเศรษฐกิจได้รับ
การส่งเสริมไม่เพียงพอ จึงเสมือนเป็นแรงผลักดันให้ออกจากชนบทเข้าสู่เมืองเพื่อแสวงหาโอกาสที่ดีกว่า


    3. สภาพการใช้ที่ดินไม่เหมาะสม
                    พบว่าการเพิ่มขึ้นของประชากรและสาเหตุการเกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมอื่นได้ก่อให้ เกิดสภาพการใช้ที่ดินไม่เหมาะสม เพราะขาดการควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดิน ซึ่งบางพื้นที่เหมาะแก่
การเพาะปลูก แต่ถูกสภาพการเป็นเมืองเข้าก่อสร้างซ้อนทับ มีผลทำให้ต้องแสวงหาพื้นที่ทำการเกษตรใหม่ โดยบุกรุกพื้นที่ป่า


    4. การใช้เทคโนโลยีไม่เหมาะสม
                    ได้แก่การใช้สารเคมีในการเกษตรและอุตสาหกรรมรวมถึงการใช้เทคโนโลยีที่ไม่ถูก วิธี ย่อมส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม นกจากนี้การใช้เทคโนโลยีทำให้สามารถทำลายทรัพยากร
ได้เป็นจำนวนมาก ทำให้ระบบนิเวศถูกทำลายอย่างรวดเร็ว การนำปะการังเก็บขึ้นมาทำเป็นสินค้าที่ระลึก ทำให้สัตว์น้ำไม่มีที่อยู่อาศัย คุณภาพดินเสื่อมจากสารเคมีที่ใช้ในการเกษตรและปุ๋ยเคมีในระยะเวลา
นาน ๆ อย่างต่อเนื่อง



วันพฤหัสบดีที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2555

โรคที่เกิดจากความรัอน

         โรคฮีทสโตรก เป็นโรคที่เกิดจากการที่ร่างกายได้รับความร้อนมากเกินไปจนทำให้ความร้อนในร่างกาย (core temperature) สูงกว่า 40 องศาเซลเซียส อาการที่เบื้องต้น ได้แก่ เมื่อยล้า อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน วิตกกังวล สับสน ปวดศรีษะ ความดันต่ำ หน้ามืด ไวต่อสิ่งเร้าง่าย และยังอาจมีผลต่อระบบไหลเวียน ซึ่งอาจมีอาการเพิ่มเติมอีก ได้แก่ ภาวะขาดเหงื่อ เพ้อ ชัก ไม่รู้สึกตัว ไตล้มเหลว มีการตายของเซลล์ตับ หายใจเร็ว มีการบวมบริเวณปอดจากการคั่งของของเหลว หัวใจเต้นผิดจังหวะ การสลายกล้ามเนื้อลาย ช็อค และเกิดการสะสมของ fibrin จนไปอุดตันหลอดเลือดขนาดเล็กทำให้อวัยวะต่างๆ ล้มเหลว ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีอาจทำให้เสียชีวิตได้ สาเหตุการเกิดโรคออกเป็น 2 ประเภท คือ
          - Classical Heat Stroke เกิดจากความร้อนในสิ่งแวดล้อมที่อาศัยอยู่มีมากเกินไปส่วนใหญ่เกิดในช่วงที่มีอากาศร้อน พบบ่อยในผู้ที่มีอายุมากและมีโรคเรื้อรัง มักเกี่ยวกับความผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลาง อาการที่สำคัญ คือ อุณหภุมิร่างกายสูง ไม่มีเหงื่อ


        - Exertional Heat Stroke เกิดจากการออกกำลังที่หักโหมเกินไป มักจะเกิดในหน้าร้อนโดยเฉพาะกลุ่มผู้ใช้แรงงานและนักกรีฑา อาการคล้ายกับ Classical แต่ต่างตรงที่กลุ่มผู้ป่วยประเภทนี้จะมีเหงื่อออก นอกจากนี้ยังพบการเกิดการสลายเซลล์กล้ามเนื้อลาย โดยจะมีอาการแทรกซ้อน ได้แก่ ระดับโพแทสเซียมในเลือดสูง ระดับฟอสฟอรัสในเลือดสูง ระดับแคลเซียมในเลือดต่ำ และพบไมโอโกลบิน  ในปัสสาวะด้วย บุคคลที่มีความเสี่ยงว่าจะเกิดโรคฮีทสโตรก
          บุคคลที่มีความเสี่ยงว่าจะเกิดโรคฮีทสโตรก ได้แก่ ทหารที่เข้ารับการฝึกโดยปราศจากการเตรียมสภาพร่างกายให้พร้อมในการเผชิญสภาพอากาศร้อน รวมถึงบรรดานักกีฬาสมัครเล่นและผู้ที่ทำงานในสภาพอากาศที่ร้อนชื้น รวมทั้งผู้สูงอายุ เด็ก คนอดนอน คนดื่มเหล้าจัด และผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงด้วย


น้ำเน่า กทม. ทำไมน้ำถึงเน่า



ที่มา   http://www.youtube.com/watch?v=O7s026LjGKY&feature=related

มลพิษทางเสียง



โรงงานเพชรจินดา ผลิตแผ่นฝ้าเพดานจากยิบซั่ม ปล่อยเสียงรบกวนบ้านเรือนใกล้เคียงรุนแรงมากทั้งวัน

ที่มา   http://www.youtube.com/watch?v=LV6pEBK8olQ

Noise Pollution

        ภาวะมลพิษทางเสียง ( Noise Pollution )  หมายถึง สภาวะเสียงที่ดังเกินไปจนก่อให้เกิดความรำคาญ หรือก่อให้เกิดอันตรายต่อระบบการได้ยินของมนุษย์และสัตว์
แหล่งกำเนิดภาวะมลพิษทางเสียง
       1. การจราจร มาจากยานพาหนะประเภทต่างๆ เช่น รถไฟ รถยนต์ รถจักรยานยนต์ รถบรรทุก เรือหางยาว และเครื่องบิน เป็นต้น
       2. สถานประกอบการต่างๆ ได้แก่ โรงงานอุตสาหกรรม การก่อสร้าง อู่ซ่อมรถ เป็นต้น
       3. ชุมชนและสถานบริการ ได้แก่ เสียงจากคนหรือเครื่องใช้ภายในบ้าน เช่น วิทยุ โทรทัศน์ และเสียงในย่านธุรกิจการค้า สถานบันเทิงเริงรมย์ เป็นต้น
ระดับเสียงจากกิจกรรมต่าง ๆ


ที่มา   http://www.thaigoodview.com/library/sema/sukhothai/sureeporn_j/toxic/sec03p01.html

โลกให้ชีวิต



ที่มา   http://www.youtube.com/watch?v=bLoPDlAbqqw

เทคโนโลยีสะอาด



ที่มา   http://www.youtube.com/watch?v=FBHqL5IYPS8

เทคโนโลยีสะอาด (CLEAN TECHNOLOGY)

          ในปัจจุบัน ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ได้ทวีความรุนแรงมากขึ้น จึงได้มีการนำเทคโนโลยีสะอาด (CLEAN TECHNOLOGY) หรือมีชื่ออื่นๆ ที่มีความหมายใกล้เคียงกัน หรือเหมือนกันอีกคือ การป้องกันมลพิษ (POLLUTION PREVENTION) หรือ P2) การผลิตที่สะอาด (CLEANER PRODUCTION หรือ CP) และการลดของเสีย ให้น้อยที่สุด (WASTE MINIMIZATION) มาใช้ ซึ่งทั้งหมดเป็นการป้องกัน ของเสียที่แหล่งกำเนิด แทนการควบคุมบำบัด และจัดของเสียแบบเดิม ที่เมื่อเปรียบเทียบแล้ว ค่าใช้จ่ายสูงกว่า การใช้เทคโนโลยีสะอาด จะเป็นวิธีการ นำไปสู่มาตรฐาน การจัดการสิ่งแวดล้อม ISO14000 ซึ่งเป็นที่ยอมรับ ในวงการค้า ในโลกปัจจุบันด้วย


           "เทคโนโลยีสะอาด" ก็คือ กลยุทธ์ในการปรับปรุง ผลิตภัณฑ์ บริการ และกระบวนการ อย่างต่อเนื่อง เพื่อจัดการทรัพยากร อย่างมีประสิทธิภาพ ให้เปลี่ยนเป็นของเสีย น้อยที่สุดหรือไม่มีเลย การลดมลพิษที่แหล่งกำเนิด จึงเป็นทั้งการรักษาสิ่งแวดล้อม และการลดค่าใช้จ่าย ในการผลิตไปพร้อม ๆ กันด้วย สำหรับประเทศไทย การนำเทคโนโลยีสะอาด มาใช้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ
1. เป็นการเสริมสร้าง ความสามารถ ในการแข่งขัน ในตลาดโลก เนื่องจากความได้เปรียบ ด้านต้นทุนและแรงงาน ของอุตสาหกรรมไทยมีน้อยลง
2. เป็นการพัฒนาขีดความสามารถ และประสิทธิภาพ ของการประกอบธุรกิจ เพื่อการพัฒนาแบบยั่งยืน ให้สอดคล้องกับ แผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8

ที่มา   http://www.thaifactory.com/Operate/CleanTech.htm

The end of the earth



ภาพยนตร์ชุดนี้ ได้รวบรวมเหตุการณ์ภัยพิบัติ ตั้งแต่เดือนมกราคม 2011 ถึง เดือนมีนาคม 2011 จัดทำเพื่อให้เยาวชนรู้จักคุณค่าของทรัพยากร และมีความรู้เท่าทันต่อภัยพิบัติ

ที่มา   http://www.youtube.com/watch?v=gNjL94b3sF8&feature=related

Hazardous Materials Safety Continuum

          การพัฒนาภาคอุตสาหกรรมและการเกษตรของประเทศอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้มีการผลิตและนำเข้าสารเคมีอันตรายชนิดต่าง ๆ มาใช้ในประเทศเป็นจำนวนมาก และปัญหาหนึ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้คือ การเพิ่มขึ้นของการเกิดอุบัติภัยจากสารเคมีทั้งในกระบวนการผลิต การจัดเก็บและการขนส่งสารเคมี ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนและสิ่งแวดล้อมบริเวณใกล้เคียงอย่างมาก ดังจะเห็นได้จากสถิติการเกิดอุบัติภัยจากสารเคมี ทั่วประเทศในช่วงปี 2542 - ปัจจุบัน มีจำนวนทั้งสิ้น 142 ครั้ง มีผู้บาดเจ็บไม่ต่ำกว่า 962 คน และผู้เสียชีวิต 126 คน มูลค่าความเสียหายประมาณ 2000 ล้านบาท ทั้งนี้ ภัยจากสารเคมีเป็นภัยเฉพาะด้านที่มีความจำเป็นต้องใช้ความเชี่ยวชาญเฉพาะจากหลายหน่วยงานในการปฏิบัติการตอบโต้เหตุ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างเร่งด่วนที่จะต้องจัดทำมาตรการเตรียมความพร้อมให้หน่วยงานท้องถิ่นและภูมิภาคสามารถรองรับอุบัติภัยจากสารเคมีได้ โดยให้มีการเตรียมแผนปฏิบัติการฉุกเฉินที่มีแนวปฏิบัติชัดเจน การเสริมสร้างศักยภาพของเจ้าหน้าที่ระดับบัญชาการในด้านการสั่งการตามระบบบัญชาการ ณ ที่เกิดเหตุ (Incident Command System) และเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการฉุกเฉินในด้านเทคนิคการระงับอุบัติภัยจากสารเคมี รวมทั้งการจัดเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์ตอบโต้เหตุฉุกเฉินที่เหมาะสม เพื่อให้การจัดการอุบัติภัยฉุกเฉินจากสารเคมีเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัยต่อเจ้าหน้าที่และประชาชนในพื้นที่ ตลอดจนคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนสืบไป
          วงจรการตอบโต้เหตุฉุกเฉินจากสารเคมี (Hazardous Materials Safety Continuum) เป็นกระบวนการที่มีความต่อเนื่อง ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ


ที่มา   http://www.pcd.go.th/info_serv/haz_response.htm

ของเสียจากโรงฆ่าสัตว์


“ของเสีย” (ตาม พรบ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ 2535) หมายความว่า ขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูล น้ำเสีย อากาศเสีย มลสาร หรือวัตถุอันตรายอื่นใด ซึ่งถูกปล่อยทิ้งหรือมีที่มาจากแหล่งกำเนิดมลพิษ รวมทั้งกากตะกอนหรือสิ่งตกค้างจากสิ่งเหล่านั้นที่อยู่ในสภาพของแข็ง ของเหลว หรือก๊าซ

โรงฆ่าสัตว์ของเทศบาลต่างๆ ทั่วประเทศ ส่วนมากสัตว์ที่นำมาฆ่าจะเป็นสุกร มีจำนวนสุกรที่นำมาฆ่าแต่ละโรงประมาณ 70 - 150 ตัว/วัน และมีโรงฆ่าสัตว์บางแห่งมีการฆ่าโคและกระบือ ซึ่งมีจำนวนค่อนข้างน้อย คือประมาณวันละ 1 - 2 ตัว/วัน ในระหว่างปี พ.ศ. 2544 - 2545 กรมควบคุมมลพิษได้สำรวจของเสียจากโรงฆ่าสัตว์ พบว่าของเสียที่เกิดขึ้น ได้แก่ น้ำเสีย และกากของเสีย ซึ่งน้ำเสียจะนำเข้าสู่ระบบบำบัดน้ำเสียในส่วนกากของเสียยังไม่มีระบบการจัดการที่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร โดยเทศบาลบางแห่งรวบรวมเก็บขนไปกำจัดร่วมกับขยะ มูลฝอยทั่วไปของเทศบาลและเทศบาลบางแห่งมีการปล่อยกากของเสียออกสู่สิ่งแวดล้อมอันนำมาซึ่งปัญหามลพิษทางสิ่งแวดล้อมปัญหาแหล่งเพาะพันธุ์ของเชื้อโรคและปัญหาทางทัศนียภาพต่างๆ เป็นต้น ดังนั้นเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาจากของเสียดังกล่าว เทศบาลต่างๆทั่วประเทศจึงจำเป็นต้องจัดหาวิธีการจัดการของเสียที่เหมาะสมต่อไป

ที่มา   http://www.pcd.go.th/info_serv/waste_wkillanimal.html

กบนอกกะลา ตอน ขยะสัญจร




ที่มา   http://www.youtube.com/watch?v=BEz0OWyxXuU&feature=related

การจัดการขยะ



การจัดการขยะมูลฝอยแบบครบวงจรด้วยวิธีการเชิงกล-ชีวภาพ MBT โดยการตั้งกองหมักแบบไร้กลิ่น ซึ่งเป็นการกำจัดขยะมูลฝอย อย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับพื้นที่ในประเทศไทยที่สุด


ที่มา   http://www.youtube.com/watch?v=kWnabzgoaAY

ขยะ Waste

ขยะมูลฝอย สามารถแบ่งตามลักษณะทางกายภาพของขยะได้เป็น 4 ประเภท ได้แก่


1. ขยะย่อยสลาย (Compostable waste) หรือ มูลฝอยย่อยสลาย คือ ขยะที่เน่าเสียและย่อยสลายได้เร็ว สามารถนำมาหมักทำปุ๋ยได้ เช่น เศษผัก เปลือกผลไม้ เศษอาหาร ใบไม้ เศษเนื้อสัตว์ เป็นต้น แต่จะไม่รวมถึงซากหรือเศษของพืช ผัก ผลไม้ หรือสัตว์ที่เกิดจากการทดลองในห้องปฏิบัติการ โดยที่ขยะย่อยสลายนี้เป็นขยะที่พบมากที่สุด คือ พบมากถึง 64% ของปริมาณขยะทั้งหมดในกองขยะ


2. ขยะรีไซเคิล (Recyclable waste) หรือ มูลฝอยที่ยังใช้ได้ คือ ของเสียบรรจุภัณฑ์ หรือวัสดุเหลือใช้ ซึ่งสามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ได้ เช่น แก้ว กระดาษ เศษพลาสติก กล่องเครื่องดื่มแบบ UHT กระป๋องเครื่องดื่ม เศษโลหะ อะลูมิเนียม ยางรถยนต์ เป็นต้น สำหรับขยะรีไซเคิลนี้เป็นขยะที่พบมากเป็นอันดับที่สองในกองขยะ กล่าวคือ พบประมาณ 30% ของปริมาณขยะทั้งหมดในกองขยะ


3. ขยะอันตราย (Hazardous waste) หรือ มูลฝอยอันตราย คือ ขยะที่มีองค์ประกอบหรือปนเปื้อนวัตถุอันตรายชนิดต่างๆ ซึ่งได้แก่ วัตถุระเบิด วัตถุไวไฟ วัตถุออกซิไดซ์ วัตถุมีพิษ วัตถุที่ทำให้เกิดโรค วัตถุกรรมมันตรังสี วัตถุที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม วัตถุกัดกร่อน วัตถุที่ก่อให้เกิดการระคายเคือง วัตถุอย่างอื่นไม่ว่าจะเป็นเคมีภัณฑ์หรือสิ่งอื่นใดที่อาจทำให้เกิดอันตรายแก่บุคคล สัตว์ พืช ทรัพย์สินหรือสิ่งแวดล้อม เช่น ถ่านไฟฉาย หลอดฟลูออเรสเซนต์ แบตเตอรี่โทรศัพท์เคลื่อนที่ ภาชนะบรรจุสารกำจัดศัตรูพืช กระป๋องสเปรย์บรรจุสีหรือสารเคมี เป็นต้น ขยะอันตรายนี้เป็นขยะที่มักจะพบได้น้อยที่สุด กล่าวคือ พบประมาณเพียง 3% ของปริมาณขยะทั้งหมดในกองขยะ




4. ขยะทั่วไป (General waste) หรือ มูลฝอยทั่วไป คือ ขยะประเภทอื่นนอกเหนือจากขยะย่อยสลาย ขยะรีไซเคิล และขยะอันตราย มีลักษณะที่ย่อยสลายยากและไม่คุ้มค่าสำหรับการนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ เช่น ห่อพลาสติกใส่ขนม ถุงพลาสติกบรรจุผงซักฟอก พลาสติกห่อลูกอม ซองบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ถุงพลาสติกเปื้อนเศษอาหาร โฟมเปื้อนอาหาร ฟอล์ยเปื้อนอาหาร เป็นต้น สำหรับขยะทั่วไปนี้เป็นขยะที่มีปริมาณใกล้เคียงกับขยะอันตราย กล่าวคือ จะพบประมาณ 3% ของปริมาณขยะทั้งหมดในกองขยะ

ที่มา   http://www.pcd.go.th/info_serv/waste_3R.htm

หมอกควันภาคเหนือ



ที่มา   http://www.youtube.com/watch?v=q_75XVjl4ho&feature=related

สถานการณ์มลพิษหมอกควันในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย



สถานการณ์มลพิษหมอกควันในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย
วันที่ ๕ เมษายน ๒๕๕๕
จากผลการตรวจวัดคุณภาพอากาศในพื้นที่ภาคเหนือ ในวันที่ 5 เมษายน 2555 พบปริมาณฝุ่นละอองขนาด ไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10) เฉลี่ย 24 ชั่วโมง มีค่าระหว่าง 59.2 – 169.6 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร คุณภาพอากาศส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง   จังหวัดแม่ฮ่องสอน พบปริมาณฝุ่นละอองในระดับมีผลกระทบต่อสุขภาพ   ปริมาณฝุ่นละอองลดต่ำลงกว่าวันก่อนหน้าเกือบทุกสถานี ยกเว้นเพียงสถานีสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ที่พบฝุ่นละอองเพิ่มสูงเล็กน้อย
พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ จ.เชียงใหม่ มีตำแหน่งที่ตรวจวัดอยู่บนภูเขาสูง อยู่เหนือระดับชั้นอุณหภูมิผกผัน (Inversion) ส่งผลให้ปริมาณฝุ่นละอองที่ตรวจวัดได้ไม่ได้รับผลกระทบจากแหล่งกำเนิดในแอ่งเชียงใหม่ – ลำพูน ปริมาณฝุ่นละอองมีค่า 37.5 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร คุณภาพอากาศอยู่ในระดับดี
กรมอุตุนิยมวิทยาคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 4 – 6 เมษายน บริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางจากประเทศจีนระลอกใหม่จะแผ่เสริมลงมาปกคลุม ทำให้พื้นที่ภาคเหนือ มีฝนฟ้าคะนองกระจาย และลมกรรโชกแรง สถานการณ์หมอกควันในพื้นที่ภาคเหนือจึงเบาบางลง
กรมควบคุมมลพิษ ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังคงดำเนินมาตรการลดและควบคุมการเผาในที่โล่งอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดวิกฤติสถานการณ์มลพิษหมอกควันขึ้นอีกตลอดหน้าแล้งนี้

ที่มา   http://aqnis.pcd.go.th/node/4290