ปฏิทินปี2555

วันพุธที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

น้ำท่วมมหาสารคาม




ที่มา   http://www.youtube.com/watch?v=2X_FTKcSiB4&feature=related

มลพิษทางน้ำ

 ความหมายของน้ำเสีย
น้ำเสียตาม พ.ร.บ ส่งเสริมและรักษาสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ หมายถึง ของเสียที่อยู่ในสภาพที่เป็นของเหลว รวมทั้งมวลสารที่ปะปนหรือปนเปื้อนอยุ่ในของเหลวนั้น
    
 ลักษณะของน้ำเสีย
ลักษณะของน้ำเสียแบ่งออกได้ 3 ด้าน คือ ด้านายภาพ ด้านเคมี และด้านชีวภาพ
 1.ลักษณะของน้ำเสียทางกายภาพ เช่น
 -ปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ทั้งหมด หมายถึง ปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำและสามารถไหลผ่านกระดาษกรองใยแก้ว แล้วนำน้ำไปที่กรองได้ ไประเหยจนแห้ง แล้วจึงนำไปอบ
 -ของแข็งแขวนลอย หมายถึงปริมาณของแข็งแขวนลอยที่เหลือค้างบนกระดาษกรองใยแก้ว
 -ความขุ่น หมายถึง สมบัติทางแสงของสารแขวนลอยซึ่งทำให้แสงกระจาย และดูดกลืนมากกว่าที่จะอมให้แสงผ่านเป็นเส้นตรง ความขุ่นของน้ำเกิดการมีสารแขวนลอยต่างๆ เช่น ดิน ดินตะกอน
 2.ลักษณะของน้ำเสียทางเคมี เช่น
 -ออกซิเจนละลาย การหาดีโอ(DO)หรืออกซิเจนละลาย สามารถทำได้ทั้งวิธีทางเคมี และใช้เครื่องวัดโดยตรง
 -บีโอดี(BOD)หมายถึง ปริมาณออกซิเจนที่ใช้ในการย่อยสลายสารอินทรีย์โดยแบคทีเรีย
 -ซีโอดี(COD)หมายถึง ปริมาณออกซิเจนทั้งหมดที่ต้องการใช้เพื่อออกซิเดชันสารอินทรีย์ในน้ำ ด้วยสารเคมีซึ่งมีอำนาจในการออกซิไดส์สูงในสารละลายที่เป็นกรด ให้เป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในน้ำ ค่าซีโอดีมีความสำคัญในการวิเคราะห์คุณภาพน้ำทิ้ง การควบคุมระบบบำบัดน้ำทิ้ง การควบคุมระบบบำบัดน้ำเสีย ค่า COD นี้มีหน่วยเป็น มิลลิกรัม/ลิตร
 -ค่าความกรด-ด่าง(pH)มีความสำคัญในการควบคุมคุณภาพน้ำและน้ำเสียควบคุมให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิต เพื่อไม่ให้เกิดการกัดกร่อนของท่อ เพื่อใช้ในการควบคุมสารเคมีที่ใช้บำบัดน้ำเสียให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยทั่งไปน้ำมีค่า pH อยุ่ในช่วง 5-8 ค่า pH เป็นค่าที่แสดงปริมาณความเข้มข้นของอนุภาคไฮโดรเจนในน้ำ
   -ไนโตรเจน เป็นธาตุที่มีความสำคัญในการสังเคราะห์โปรตีน ทำให้พืชน้ำมีการเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว
   -สารโลหะหนักชนิดต่างๆขึ้นอยุ่กับชนิดของอุตสาหกรรม สารโลหะหนักยอมให้มีได้ในน้ำในปริมาณที่น้อยมากเนื่องจากบางตัวให้ความเป็นพิษสูง แต่บางชนิดหากทีปริมาณไม่มากนักจะมีผลดีต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ
  3.ลักษณะของเสียทางชีวภาพ เช่น
   -แบคทีเรีย คือ จุลินทรีย์เซลล์เดียว มีขนาดเล็ก ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เป็นผู้ย่อยสลายในแหล่งน้ำ
   -รา เป็นจุลินทรีย์ที่มีหลายเซลล์ ไม่มีคลอโรฟีลล์ รามีความสำคัญในการย่อยสลายพวกคาร์บอนที่มีค่า pH ต่ำ รามีบทบาทสำคัญในการย่อยสลายสารอินทรีย์ในระบบบำบัดน้ำเสียบางระบบ
  
 แหล่งกำเนิดน้ำเสีย แบ่งได้หลักๆดังนี้
  1.น้ำเสียจากชุมชน หมายถึง น้ำที่เกิดจากการใช้ประโยชน์ในกิจกรรมต่างๆ และระบายน้ทิ้งลงสู่ท่อระบายน้ำ แหล่งรองรับน้ำเสีย หรือแหล่งน้ำธรรมชาติ โดยไม่ได้ผ่านการบำบัด
        การตรวจสอบความเน่าเสียของน้ำ
วัดปริมาณออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำ นิยมหาได้ 2 แบบคือ
  1.หาปริมาณออกซิเจนที่ใช้ทำปฏิกริยากับสารอินทรีย์ในน้ำเสีย ทั้งจุลินทรีย์ย่อยสลายได้และไม่ได้ วิธีนี้เป็นวิธีทางเคมี
  2.หาปริมาณออกซิเจนที่จุลินทรีย์ใช้ย่อยสลายสารอินทรีย์ต่างๆในน้ำเสีย วิธีนี้ถือว่าเป็นวิธีทางชีววิทยา
  3.หาปริมาณจุลินทีรย์ในน้ำ

  4.วัดความเข้มข้นของสารต่างๆที่ละลายอยู่ในน้ำ






ที่มา   http://www.dekgeng.com/thai/conp/7567.htm

มลภาวะทางอากาศ

สภาพหมอกที่ปกคลุมชั้นบรรยากาศที่เกิดจากมลภาวะทางอากาศ

สภาพหมอกที่ปกคลุมชั้นบรรยากาศที่เกิดจากมลภาวะทางอากาศ

ภาวะมลพิษทางอากาศ (Air Pollution) มีสาเหตุต่าง ๆ ดังนี้
1. การเผาไหม้เชื้อเพลิงในโรงงานอุตสาหกรรม หรือในเครื่องยนต์ การเผาถ่านหินหรือเชื้อเพลิงที่มีกำมะถันและสารประกอบของกำมะถันเป็นองค์ประกอบ จะมีแก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) เกิดขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุของฝนกรด มีผลต่อการดำรงชีวิตของสัตว์น้ำ ทำให้สีใบไม้ซีดจาง และสังเคราะห์แสงไม่ได้ ถ้าร่างกายได้รับ SO2 จะเกิดอาการปวดเมื่อยเรื้อรัง โลหิตจาง เป็นอันตรายต่อระบบหายใจและปอด


 ควันจากโรงงานอุตสาหกรรมทำให้เกิดมลพิษทางอากาศ

2. การเผาไหม้เชื้อเพลิงปิโตรเลียมอย่างไม่สมบูรณ์ จะได้เขม่าและออกไซด์ของคาร์บอน ได้แก่ CO และ CO2  นอกจากนี้ยังได้แก๊สอื่น ๆ อีกหลายชนิด เช่น SO2 , NO2 และ H2S รวมทั้งเถ้าถ่านที่มีปริมาณโลหะน้อยมากเป็นองค์ประกอบ
 CO2 เป็นสาเหตุทำให้เกิดภาวะเรือนกระจก ส่งผลกระทบต่ออุณหภูมิของโลก

ควันจากโรงงานอุตสาหกรรมมีแก๊สหลายชนิดเกิดขึ้น

ในบริเวณที่มีการจราจรคับคั่ง จะมี CO เกิดขึ้นมาก CO เป็นแก๊สพิษ ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น  รวมกับฮีโมโกลบินเกิดเป็นคาร์บอกซีฮีโมโกลบินได้ดี ทำให้เม็ดเลือดแดงไม่สามารถรับออกซิเจนได้ตามปกติ จะเกิดอาการเวียนศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน ถ้าร่างกายรับเข้าไปมากทันที อาจทำให้เสียชีวิตได้


3. การเผาไหม้เชื้อเพลิงของเครื่องยนต์ต่าง ๆ มีไฮโดรคาร์บอนที่เผาไหม้ไม่หมดออกมาด้วย ไฮโดรคาร์บอนที่มีพันธะคู่จะรวมตัวกับแก๊สออกซิเจนหรือแก๊สโอโซน เกิดเป็นสารประกอบแอลดีไฮด์ซึ่งมีกล่นเหม็น ทำให้เกิดอาการระคายเคืองเมื่อสูดดม

ไฮโดรคาร์บอนสามารถเกิดปฏิกิริยากับ O2 และ NO2 เกิดสารประกอบเปอร์ออกซี แอซีทิลไนเตรต (PAN) ซึ่งเป็นพิษ ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อดวงตาและระบบทางเดินหายใจ มีผลต่อพืชโดยทำลายเนื้อเยื่อที่ใบ

การเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ชองเครื่องยนต์

สภาพการจราจรที่แออัดทำให้เกิดภาวะมลพิษทางอากาศ


ปัญหาสิ่งแวดล้อมรอบตัว




    ที่มา   http://www.youtube.com/watch?v=YUNMn23qPLg&feature=related

อย่าประมาท 10 สัณญาน เตือนวันสิ้นโลก!




ที่มา    http://www.youtube.com/watch?v=3GGz2WuCsqU&feature=related

เผยผลตรวจ เหยื่อสารเคมีรั่ว แหลมฉบัง

พบเพียง 2 ตัวอย่างที่มีระดับซัลฟ์ฮีโมโกลบินสูง พร้อมส่งรถโมบายแล็บลงพื้นที่ คอยตรวจสอบการปนเปื้อนในอาหาร สร้างความมั่นใจ ปปช.-นักท่องเที่ยว
วันนี้ (4 ธ.ค.) นพ.จักรธรรม ธรรมศักดิ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้รับตัวอย่างเลือดของผู้ป่วยที่ได้รับผลกระทบ จากเหตุการณ์สารเคมีรั่วไหลในท่าเทียบเรือบี 3 ภายในท่าเรือแหลมฉบัง อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ทั้งหมด 37 ตัวอย่าง จำแนกเป็นตัวอย่างจากโรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา เมื่อวันที่ 26 พ.ย.2552 จำนวน 21 ตัวอย่าง เป็นของผู้ป่วย 20 ราย และผู้เสียชีวิต 1 ราย และตัวอย่างส่งผ่านศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ชลบุรี เมื่อวันที่ 28 พ.ย.2552 จำนวน 16 ตัวอย่าง ตรวจวิเคราะห์หาระดับของซัลฟ์ฮีโมโกลบิน เพื่อยืนยันการวินิจฉัยการได้รับสัมผัสจากแก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และบอกถึงความรุนแรงของโรคซัลฟ์ฮีโมโกลบินิเมีย โดยนำตัวอย่างดังกล่าวมาตรวจวิเคราะห์ด้วยวิธีวิสิเบิลสเปคโตรโฟโตเมตรี วัดความยาวคลื่นแสงที่ 620 นาโนมิเตอร์ ผลจากการตรวจวิเคราะห์พบเพียง 2 ตัวอย่าง ที่มีระดับของซัลฟ์ฮีโมโกลบินสูง คือ พบ 0.49% และ 1.84% ของฮีโมโกลบินทั้งหมด ซึ่งเป็นตัวอย่างจากโรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ศรีราชา จำนวน 1 ตัวอย่าง และส่งผ่านศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ชลบุรี จำนวน 1 ตัวอย่าง ทั้งนี้ ระดับของซัลฟ์ฮีโมโกลบินในคนปกติไม่ควรเกิน 0.4% ของฮีโมโกลบินทั้งหมด
ด้าน นางเพ็ญศรี รอดมา ผู้ทรงคุณวุฒิด้านความปลอดภัยของอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้นำรถปฏิบัติการเคลื่อนที่ หรือรถโมบายแล็บลงไปในพื้นที่ เพื่อคอยตรวจสอบสารพิษในอาหาร รวมทั้งเฝ้าระวังความปลอดภัยของอาหารทะเลทั้งสด และแห้ง ที่จำหน่ายตามร้านอาหารบริเวณท่าเรือแหลมฉบัง และที่ตลาดสด อ.ศรีราชา เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ประชาชน และนักท่องเที่ยวในพื้นที่ดังกล่าวแล้ว เมื่อวันที่ 1-2 ธ.ค.2552 และได้เก็บตัวอย่างอาหารชนิดปู ปลาหมึก กุ้ง หอยและกั้ง ทั้งหมด 46 ตัวอย่าง ผลการตรวจไม่พบการปนเปื้อนของสารซัลไฟต์ในทุกตัวอย่าง.


ที่มา   http://news.sanook.com/851571/%E0%B9%80%E0%B8%9C%E0%B8%A2%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%88-%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A2%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%A7-%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A1%E0%B8%89%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%87/


รัฐบาลล้อมคอก อุบัติเหตุโรงงานอุตสาหกรรม

นายกรัฐมนตรี สั่งกระทรวงอุตสาหกรรม ประเมินความเสี่ยง และทบทวนการปฎิบัติงานในทุกโรงงาน ภายหลังเกิดเหตุสารเคมีรั่วไหลจากโรงงานอุตสาหกรรมติดกัน ขณะที่ รมว.อุตสาหกรรม สั่งกำชับผู้บริหารโรงงานที่เกิดสารเคมีรั่ว ว่าเหตุการณ์เช่นนี้จะต้องไม่เกิดขึ้นอีก
มรว.พงษ์สวัสดิ์ สวัสดิวัตน์ รมว.อุตสาหกรรม พร้อมด้วยนายเสนีย์ จิตตเกษม ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง ลงพื้นที่ตรวจสอบจุดที่มีสารเคมีรั่วไหล ในบริษัท อดิตยา เบอร์ล่า เคมีคัลส์ (ประเทศไทย) จำกัด ในนิคมอุตสาหกรรมเหมราชตะวันออก จังหวัดระยอง โดยได้เข้าไปตรวจสอบบริเวณส่วนผลิตกรดไฮโดรคลอริก และไฮโปครอไรท์ ซึ่งเป็นจุดที่มีสารเคมีรั่วไหลวานนี้ (6 พ.ค.) ซึ่งการลงพื้นที่วันนี้ (7 พ.ค.) แม้ว่าทางโรงงานจะสามารถสกัดการรั่วไหลเอาไว้ได้แล้ว แต่ในบริเวณดังกล่าวยังคงมีกลิ่นฉุนของสารเคมีฟุ้งกระจายอยู่
รมว.อุตสาหกรรม ได้สั่งกำชับให้เพิ่มความเข้มงวดในการตรวจสอบ และให้ซักซ้อมแผนการแจ้งเตือนภัยให้กับประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียง พร้อมทั้งกำชับเจ้าหน้าที่ว่าเหตุการณ์เช่นนี้จะต้องไม่เกิดขึ้นอีก
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่าได้กำชับให้ช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสารเคมีรั่วอย่างเต็มที่ พร้อมกับสั่งการให้กระทรวงอุตสาหกรรม ประเมินความเสี่ยงของการปฏิบัติงานในทุกโรงงาน เพื่อทบทวนในทุกขั้นตอน เพิ่มความระมัดระวัง ทั้งตัวบุคคลากร รวมถึง การซ่อมบำรุง ในทุกไตรมาส ซึ่งจะมีผลต่อการต่อใบอนุญาตด้วย
ส่วนการรั่วไหลของสารทูโลอิน และสารคลอรีน นั้นได้รับคำชี้แจงจากผู้อำนวยการสำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ว่าสารดังกล่าวเป็นสารที่ระเหยได้ง่ายในอากาศ และไม่ได้เป็นสารที่ก่อให้เกิดมะเร็ง แต่หากสูดดมเข้าไปในปริมาณมากจะส่งผลต่อเยื้อบุต่างๆ โดยแนะนำให้ประชาชนในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดใช้ผ้าชุบน้ำปิดจมูกขณะออกนอกที่พักอาศัย และห้ามรองน้ำฝนมาอุปโภค บริโภค ในระยะนี้
สำหรับการช่วยเหลือผู้เสียชีวิตจากเหตุเพลิงไหม้ โรงงานบีเอสที มีผู้เสียชีวิต 12 คนนั้น ผู้เสียชีวิตจะได้รับเงินชดเชย 36 เท่าของเงินเดือน เงินปลอบขวัญ 1 ล้านบาท พนักงานผู้รับเหมาได้รับรายละ 500,000 บาท และทางมูลนิธิ กนอ. ช่วยปลอบขวัญ รายละ 20,000 บาท ขณะที่บริษัทได้ประเมินความเสียหายประมาณ 1,500-1,700 ล้านบาท


ที่มา   http://news.sanook.com/1116458/%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%81-%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%95%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1/